การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงประเมินนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โดยประยุกต์ใช้ CIPPI Model กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง รวม 253 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกระบวนการมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า ระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสม สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่บรรลุเป้าหมายได้จริง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายของโครงการมีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า การใช้ทรัพยากรที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตรงตามวัตถุประสงค์และคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และโรงเรียนมีระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันระหว่าง ภาคีเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
3. ด้านกระบวนการ พบว่า ขั้นตอนการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และขั้นตอนการนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
4. ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนได้รับการบริการอาหารกลางวันอย่างเพียงพอ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และโรงเรียนเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการทุกขั้นตอน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
5. ด้านผลกระทบ พบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพจิตดี ร่าเริงแจ่มใสมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และนักเรียนสามารถตัดสินใจ เลือกวิธีการปฏิเสธได้ทุกครั้งเมื่อถูกชักชวนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2548). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จงใจ จึงตระกูล. (2550). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาสู่โรงเรียนคุณภาพของโรงเรียนบ้านดอนแยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(1), 286-300.
ธิดารัตน์ รัฐวิเศษ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการนํานโยบายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ไปสู่การปฏิบัติของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดนครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.
มีนา โอราวัฒน์. (2554). การบริหารโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิไลวรรณ อธิมติชัยกุล. (2559). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา ในสังกัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศรีธาตุ เพียรภูเขา. (2557). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(7), 143-148.
อนงค์ มูลบุญ. (2557). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านบ่อน้ำมัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Green, L.W., Krueter , M.W. (2005). Health Promotion Planning An Education and Ecological Approach. Toronto: Mayfield Publishing Company.
Stufflebeam, D. L. & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco: CA: Jossey-Bass.