การประเมินโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐ ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐ ตามแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินของ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ จำนวน 331 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ด้านบริบท ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.82 ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ โครงการสามารถดำเนินการได้บรรลุความสำเร็จ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 4.43 ได้แก่ สภาวะแวดล้อมของโรงเรียนมีความเหมาะสมและเอื้อต่อการดำเนินโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีความเพียงพอ เหมาะสมในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.82 ได้แก่ กิจกรรมในโครงการเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 4.42 ได้แก่กำหนดแผนงานที่ชัดเจน
3. ด้านกระบวนการ ผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.82 ได้แก่ ดำเนินกิจกรรมโครงการตามแผนและขั้นตอนการดำเนินการที่กำหนดไว้ในแผนงานโครงการ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 4.46 ได้แก่ การให้ความรู้ ประชุมชี้แจง สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินงานโครงการ
4. ด้านผลผลิตผลการประเมินพบว่า โดยภาพรวมมีประสิทธิผลในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยมากที่สุด 4.81 ได้แก่ มีแหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน และน้อยที่สุด 4.42 ได้แก่ การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สยามสปอรต์ ซินดิเคท.
จตุพล พิพัฒนกิจเจริญการ. (2552). ประสิทธิภาพในการพัฒนางานที่ประสบความสำเร็จ. เรียกใช้เมื่อ 2 มิถุนายน 2565 จาก www.polpacon7.ru.ac.th/downlood/article/.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม, 3(1), 23-25.
ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 1833-1848.
รุ่ง แก้วแดง. (2553). ปฏิวัติการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
วานิตย์ สิมงาม. (2561). ยุทธศาสตร์ที่ส่งผลต่อการนำนโยบายโรงเรียนประชารัฐสู่การปฏิบัติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วิจิตร ว่องวิการณ์. (2557). แนวทางการระดมทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. ใน ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
วิมล ศรีขาว. (2560). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประชารัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2551). รวมบทความทางการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตรี แสงสุก. (2563). กระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐสู่ความเป็นเลิศ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 226-239.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP model for evaluation. The international handbook of educational evaluation (Chapter 2). Boston: Kluwer Academic Publishers.