พระพุทธศาสนาในแถบดินแดนสุวรรณภูมิ

Main Article Content

แสงสุรีย์ ทองขาว
พระมหาเอกพันธ์ วรธมฺมญฺญู (มะเดื่อ)
พระมหาธีรยุทธ ธีรยุทฺโธ (ภาสนิท)
พระมหาอภิพงค์ ภูริวฑฺฒโน (คำหงษา)
พระสิทธิชัย คมฺภีโร (รินฤทธิ์)

บทคัดย่อ

        บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของสุวรรณภูมิ 2) เพื่อศึกษาที่ตั้งและร่องรอยของดินแดนสุวรรณภูมิในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อศึกษาความสอดคล้องของพระพุทธศาสนากับประวัติศาสตร์ในดินแดนสุวรรณภูมิ พระพุทธศาสนาหลังจากการชำระพระธรรมวินัย ในการสังคายนาครั้งที่ 3 ที่ อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร แคว้นมคธ ได้มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศาสนายังดินแดนต่าง ๆ ทั้งหมด 9 สาย และสายที่ 8 มีพระสงฆ์สมณทูตปรากฏชื่อว่า พระอุตระเถระและพระโสณะเถระได้เดินทางจากชมพูทวีป เพื่อมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดน สุวรรณภูมิ ซึ่งคำว่า สุวรรณภูมิ นักวิชาการแต่ละคนก็ให้นิยามและความหมายที่แตกต่างกันไป บ้างก็ว่า เป็นแผ่นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ทองคำ สัตว์ป่า หรือกระทั่งแถบแดนดินในอุษาคเนย์ อันได้แก่ มาเลเซีย ไทย พม่า กัมพูชา เวียดนาม ลาว ซึ่งประเทศเหล่านี้เคยเฟื่องฟูทางพระพุทธศาสนาในอดีตมาก่อนและมีบางประเทศที่สุดท้ายแล้วพระพุทธศาสนาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะการรับเอาซึ่งศาสนาใหม่ และปัจจุบันสุวรรณภูมิมีจุดศูนย์กลางที่ประเทศใดไม่ปรากฎแน่ชัด แต่ก็ต่างรับวัฒนธรรมและนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถระวาทเหมือนกัน จึงไม่ต้องแปลกใจที่แต่ละประเทศจะยกย่องเชิดชูพระพุทธศาสนาในประเทศของตนเพื่อสร้างเกียรติประวัติในประเทศนั้น ๆ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2562). ประวัติพระพุทธศาสนา ฉบับปรับปรุง. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฉัตรสุมาลย์. (2556). พระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน. กรุงเทพมหานคร: แก้วการพิมพ์.

ดวงธิดา ราเมศวร์. (2537). ประวัติศาสตร์ประเทศในกลุ่มอาเซียน (2) เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน. กรุงเทพมหานคร: แพรธรรม.

ดี.จี.อี ฮอลล์. (2557). ประวัติศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ดี.จี.อี ฮอลล์. (2557). ประวัติศาสตร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

บุญเทียม พลายชมภู. (2548). พม่า: ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

บุนมี เทบสีเมือง. (2556). ความเป็นมาของชนชาติลาว อาณาจักรลาวล้านช้างตอนปลายและการก่อตั้ง สปป.ลาว. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

ปิ่น มุทุกันต์. (2554). พุทธศาสตร์ภาค 1. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พจนก กาญจนจันทร. (2555). จินตนาการ "สุวรรณภูมิ" 25 ปี พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530-2555. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). ทำไมเรารักพระเจ้าอยู่หัว. เรียกใช้เมื่อ 2 เมษายน 2566 จาก https://www.watprayoon.com/files/book/WeloveKing.pdf.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาในเอเชีย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระเมธีรัตนดิลก. (ม.ป.ป.). ประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎกบาลี. เรียกใช้เมื่อ 15 มีนาคม 2567 จาก http://oldweb.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_23.htm#top.

พระวิเทศโพธิคุณ (ว.ป.วีรยุทฺโธ). (2544). สู่ดินแดนพระพุทธองค์ (อินเดีย-เนปาล). กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม .

ภาสกร วงศ์ตาวัน. (2558). ประวัติศาสตร์ไทยทิ้งแผ่นดินถึงยุคเปลี่ยนแปลงของการปกครอง 2475. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี กรุ๊ป.

มาร์ติน สจ๊วต-ฟอกซ์. (2526). ประวัติศาสตร์ลาว. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง. (2555). สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสุวรรณภูมิศึกษา. ดำรงวิชาการ, 11(ฉบับพิเศษ), 41-68.

วิทย์ บัณฑิตกุล. (2555). สาธารณรัฐอินโดนีเซีย. กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊คส์ จำกัด.

ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ. (2566). พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 จักรพรรดิราชแห่งสุวรรณภูมิ

ในจารึกสุวรรณภูมิของกัมพูชา. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2567 จาก https://www.matichonweekly.com/culture/article_645266.

สมหมาย ชินนาค และพระครูสารกิจโกศล. (2559). พุทธศาสนาในเวียดนาม:ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ทางสังคม. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 6(2), 1-26.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2566). สุวรรณภูมิ แผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์ ชุมทางการค้า ไม่อาณาจักร. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_73265.

สุชาติ หงษา. (2550). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

อาณัติ อนันตภาค. (2557). ประวัติศาสตร์มาเลเซีย บรูไนและสิงคโปร์ ความหลากหลายเป็นหนึ่งเดียว. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี กรุ๊ป.

อาณัติ อนันตภาค. (2558). ประวัติศาสตร์เวียดนาม ใต้เงามหาอำนาจสู่เอกราชในแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี กรุ๊ป .

เอ็น.เจ.ไร. (2526). การสร้างชาติมาเลเซียและสิงคโปร์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

Maung Htin Aung. (1967). A History of Burma. New Yor: Columbia University.