รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดเมืองยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาวัดเมืองยะลา.2) ศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดเมืองยะลา 3) นำเสนอรูปแบบ การบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดเมืองยะลา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 9 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิโดยการสนทนากลุ่ม 8 คน
ผลการวิจัยพบว่า:
- สภาพการบริหารสถานศึกษาตามภาระงาน 4 ด้าน คือ 1) การบริหารงานวิชาการนั้น มีการจัดทำแผนการเรียน การสอน จัดตารางเรียน ติดตาม การวัดประเมินผล เพื่อนำไปสู่ความเป็นมาตรฐานของสถานศึกษา และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) การบริหารงานบุคคล มีบุคลากรที่เพียงพอต่อภาระงานที่มีผู้เรียนไม่มาก การจัดวางบุคลากรส่วนใหญ่เป็นไปตามความถนัดของแต่ละบุคคล 3) การบริหารงานงบประมาณ งบประมาณหลัก คือ รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ทั้งเรื่องของวัสดุอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ทุนการศึกษา 4) การบริหารงานทั่วไป มีการสนับสนุนงานบริหารทั้ง 4 ฝ่าย การพัฒนาผู้เรียนและมีการประสานงานกับองค์กร ชุมชน
- รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ควรกำหนดรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ดังนี้ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป ตามมาตรฐานการศึกษา ได้แก่ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผล
- นำเสนอรูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดเมืองยะลา พบว่า กระบวนการบริหารสถานศึกษานั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความเห็นพ้องว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2533). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ร.ส.พ.
พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์ (จันเขียด). (2561). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยถูมิ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดเอนก ปุณฺณวุฑฺโฒ (แก้วดวงดี). (2561). รูปแบบการบริหารตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. ใน ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดสมควร ปญฺญาวชิโร (ปลื้มสุด). (2561). การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยภูมิ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2564). กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม.
สุมาลี สุมิตรสวรรค์. (2562). ปัญหาและการแก้ไขในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.