การเปรียบเทียบความสามารถทางภาษา ความสามารถทางคณิตศาสตร์และความฉลาด ทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป

Main Article Content

จุฬาลักษณ์ คามูล
พัฒนานุสรณ์ สถาพรวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป 3) เปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์และความสามารถทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนของนักเรียนระหว่างการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป และ 4) ศึกษาพัฒนาการความสามารถความฉลาดทางด้านอารมณ์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลปานทิพย์อาเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป จานวนแบบละ 20 แผนๆ ละ 1 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางภาษา ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จานวน 25 ข้อ และชนิดเขียนตอบ 1 ข้อ แบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบมีค่าอานาจจาแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25 ถึง .62 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 3) แบบทดสอบ วัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จานวน 35 ข้อ และ ชนิดเติมคา 5 ข้อ แบบทดสอบ ชนิดเลือกตอบมีค่าอานาจจาแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25 ถึง .62 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .91 4) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ จานวน 10 ข้อ มีค่าอานาจจาแนกอยู่ระหว่าง .32 ถึง .66 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .78 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานใช้ F-test (One-way MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.46/79.53 และ 85.57/77.09 ตามลาดับซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ 75/752. ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป ชั้นอนุบาลปีที่2 มีค่าเท่ากับ 0.3700 และ 0.4015 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ เท่ากับ 37.00 และ 40.15 ตามลาดับ


3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน มีความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงกว่ากลุ่มที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮโสคปอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่นักเรียนทั้งสองกลุ่มมีความสามารถทางภาษาไม่แตกต่างกัน
4. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป มีแนวโน้มของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในแต่ละระยะทั้งสามระยะเพิ่มขึ้นตามลาดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (สาหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2547.
กระทรวงศึกษาธิการ. จากหลักสูตรสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สกุลไทยสิ่งพิมพ์, 2549.
กระทรวงศึกษาธิการ. การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดไฮสโคป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : วีทีซีคอมมิวนิเคชั่น, 2550.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เบรน-เบส บุ๊ค, 2551.
นิติยา กระชับกลาง. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถทางภาษาตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ที่สอดคล้องสมองเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551.
พรรณี เกษกมล. “องค์กรแห่งการเรียนรู้,” วารสารวิชาการ. 8(มีนาคม 2548) : 13-18.
ระพีพรรณ ไสยาสน์. การเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบ ACACA กับการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL). วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,2554.
โรงเรียนอนุบาลปานทิพย์. แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียนอนุบาลปานทิพย์ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2556-2558). ขอนแก่น : โรงเรียนอนุบาลลปานทิพย์, 2557.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. กรุงเทพฯ : ช้างทอง, 2550.
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2550.
ศิริพรรณ สิทธิพูนอนุภาพ. การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮ/สโคป (High/Scope). การค้นคว้าแบบอิสระการศึกษามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552.
สุวิทย์ มูลคา. ครบเครื่องเรื่องการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์, 2547.
อารี สัณหฉวี. ทฤษฎีการเรียนรู้ของสมองสาหรับ พ่อแม่ ครู และผู้บริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2554.
เอรินทร์ แสวงสาย. การเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐานกับการจัดประสบการณ์ตามปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2551.
Hileman, Sarah. Motivating Students Using Brain-Based Teaching Strategies. in The Agricultural Education Magazine. 78(September 2006) : 18-20.
Sousa, David A. How the Brain Learns. 4th ed. Thousand Oaks : Corwin, 2011.