การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง ร่วมกับการเรียนแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทาง, การเรียนแบบยืดหยุ่นบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (R&D) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนแบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอนทางเทคโนโลยีการศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แบบประเมินความสอดคล้องรูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองคุณภาพรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แบบทดสอบ แบบสอบถามความคิดเห็น ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าร้อยละ, Rating scale และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 10 องค์ประกอบหลัก และ 60 องค์ประกอบย่อย โดย 8 องค์ประกอบหลักด้านบริบท คือ 1.ด้านผู้สอน, 2.ด้านผู้เรียน, 3.ด้านเนื้อหาวิชา, 4.ด้านวิธีการสอน, 5.ด้านสื่อการสอน, 6.ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสารสนเทศ, 7.ด้านการประเมินผล และ 8.ด้านเป้าหมาย และ 2 องค์ประกอบหลักด้านกระบวนการ คือ ด้านขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน มีความเห็นรับรองคุณภาพของรูปแบบฯ 3) ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ด้วยรูปแบบฯ เท่ากับ 82.85/84.52 โดยที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้เรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน 4) ผู้เรียนมีความคิดเห็น และความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
**งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2561
References
ฉันท์ทิพย์ ลีลิตธรรม. (2557). การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการเรียนรู้ในห้องเรียนกลับทางร่วมกับเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบภควันตภาพโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2557, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/57/grc15 /files/sdp7.pdf
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2557). การวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. สืบค้น 2 มิถุนายน 2557, จาก https://www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/210655_01. pdf
ประยูร วงศ์จันทรา, วรรณศักดิ์พิจิตร บุญเสริม, ควันเทียน วงศ์จันทรา, วรวัตต์ ชาญวิรัตน์, อุไรวรรณ พรายมี, และสุภารัตน์ อ่อนก้อน (2560). การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้วิธีเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.northern. ac.th/north_research/p/document/file_14919125800.docx
พัชรีพรรณ ม. รัตนพล. (2551). การเรียนรู้แบบหลายทางเลือกในโลกแห่งดิจิตอล (Flexible Learning in a Digital World). สืบค้น 5 กรกฎาคม 2558, จาก https://www.ku.ac.th/ icted2008/download/Flexible%20Learning_patchareepan.pdf
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2550). หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป: หลักการและวิธีดำเนินการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2
557). หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557). อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุนทรี สกุลพราหมณ์, และสุรชัย ประเสริฐสรวย. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบยืดหยุ่น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 28-35.
อัจฉรา เชยเชิงวิทย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเครือข่ายสังคม. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 1(1), 163-178.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ