การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการบริหาร ตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร สถานศึกษาโรงเรียนเอกชน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ วรรณจักร นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, การบริหารสถานศึกษา, หลักธรรมาภิบาล, เขตเศรษฐกิจพิเศษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย และกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน ในสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยดำเนินการสนทนากลุ่ม กับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 ท่าน โดยมีนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ผลการศึกษาพบว่า
          สภาพการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับของความคิดเห็นสูงที่สุด ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษามีจิตสำนึกมีความรับผิดชอบต่อการบริหาร งานในสถานศึกษา รองลงมา ผู้บริหารสถานศึกษาออกกฎระเบียบเป็นที่ยอมรับและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และผู้บริหารสถานศึกษาใส่ใจในปัญหาและกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาตลอดจนเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับของความคิดเห็นสูงที่สุด ได้แก่ บุคลากรขาดความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน รองลงมา ผู้บริหารสถานศึกษาไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และบุคลากรในสถานศึกษามีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน
          ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีระดับของความคิดเห็นสูงที่สุด ได้แก่ ชุมชนให้ความช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการ รองลงมา องค์การใช้การสื่อสารภายในองค์การเป็นเครื่องมือในการบริหารงาน และบุคลากรให้ความร่วมมือในการทำงานกับสถานศึกษา ส่วนปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านชุมชนมีผลต่อการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย
          ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดเชียงราย
                    ด้านองค์การ บริหารให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ว่าด้วยการจัดการศึกษาทั้งในระดับชาติ ระดับกระทรวง ระดับท้องถิ่น และนโยบายของโรงเรียน มีการบริหารจัดการตามโครงสร้างและระเบียบการบริหารสถานศึกษาที่มีการปรับให้เป็นปัจจุบันและปฏิบัติได้จริง รวมทั้งมีแผนยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นกรอบในการดำเนินงาน สร้างมาตรฐานการจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพโดยจัดให้มีการประกันคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดและพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอกทุกเมื่อรวมทั้งสร้างเครื่องมือที่ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วน
                    ด้านผู้บริหาร มีการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะที่เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติได้จริง เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของตลาดแรงงาน พัฒนากระบวนการการจัดการเรียนการสอน ทั้งแผนการสอน เทคนิควิธีการสอน สื่อการสอน และการวัดผลประเมินผล ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เอื้อประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน สนับสนุนให้ครูและผู้เรียน ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ โดยการพัฒนานวัตกรรมการวิจัย ทั้งวิจัยสถาบันและวิจัยในชั้นเรียน รวมทั้งโครงงานวิชาชีพ
                    ด้านบุคลากร ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ วัฒนธรรมประเพณีอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนมีความรู้คู่ความดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความรักสามัคคีในหมู่คณะ รักครู รักโรงเรียนรักครอบครัว/ชุมชน สังคม และชาติ ศาสน์ กษัตริย์
                    ด้านชุมชน มีการบริการวิชาชีพต่อชุมชน/สังคม โดยยึดความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นตัวกำหนดในการจัดทำกิจกรรม/โครงการ ดึงชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการ โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

References

กิติมา ปีดีดิลก. (2552). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: อักษรพิพัฒน์.

ปัญญา ฉายะจินดาวงศ์ และรัชนี ภู่ตระกูล. (2554). ธรรมาภิบาลกับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ศิรินารถ นันทวัฒนภิรมย์. (2551). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักธรรมาภิบาล อำเภอเมืองลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุธี สุทธิสมบูรณ์. (2556). หลักการบริหารเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักพิมพ์ ก.พ.

อันติกา บุษรากุล. (2558). การบริหารสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. เชียงราย: วิทยาลัยเชียงราย.

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26