การสร้างชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยนิทานพื้นบ้านล้านนา โดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนป่างิ้ววิทยา อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ปริศนา ก๋าคำ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค, การอ่านจับใจความ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพ เพื่อหาความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยนิทานพื้นบ้านล้านนา โดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

          ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560  โรงเรียนป่างิ้ววิทยา อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้คือ 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  ด้วยนิทานพื้นบ้านล้านนา  โดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) จำนวน 8 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ T-Test

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  ด้วยนิทานพื้นบ้านล้านนา  โดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) มีประสิทธิภาพ 83.53/85.67 มีประสิทธิภาพสูงกว่า 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลการหาความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน พบว่า ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  20.35  คิดเป็นร้อยละ  67.85  และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  25.74  คิดเป็นร้อยละ  85.67  ซึ่งพบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  มีความก้าวหน้าทางการเรียน  5.40  คิดเป็นร้อยละ 17.96 3) ความพึงพอใจของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  2  โรงเรียนป่างิ้ววิทยา  อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัดเชียงราย  ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ  ด้วยนิทานพื้นบ้านล้านนา  โดยใช้หลักการบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA) อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=2.80, S.D.= 0.39) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือครูสำหรับใช้ควบคู่กับหนังสือเรียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ชญาภรณ์ พิณพาทย์. (2542). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพเพื่อสอนซ่อมเสริมเรื่องการสะกดคำการันต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิตยา เหล่าไพบูลย์พิพัฒน์. (2549). เรื่องเล่าพื้นบ้านนิทานพื้นถิ่นภาคเหนือ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด.

เยาวลักษณ์ สาระโน. (2550). การใช้ชุดการสอนนิทานเพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.(2551).แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทยจำกัด.

สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์.(2540). การเขียนเพื่อการสื่อสาร.กรุงเทพฯ: พัฒนาการศึกษา.

สุรีย์ ชินวะโร. (2553). การใช้นิทานเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านวังผา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อดุลย์ ภูปลื้ม. (2539). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดยใช้แบบฝึกที่จัดทำเป็นกลุ่มคำ และแบบฝึกที่จัดทำคำคละคำ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26