การสร้างอัตลักษณ์ในการออกแบบภาพเวกเตอร์ขายออนไลน์ของนักกราฟิกมืออาชีพ

ผู้แต่ง

  • ปิยาพัชร เดชบุญ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, เวกเตอร์, การออกแบบ, กราฟิก, การขายภาพออนไลน์

บทคัดย่อ

            การ “ขายภาพออนไลน์” เป็นธุรกิจที่เปิดโอกาสอย่างกว้างขวางสำหรับงานเวกเตอร์ หากนักกราฟิกสามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพและมีอัตลักษณ์ของตัวเอง นักกราฟิกก็จะสามารถเข้าถึง “โอกาส” ในการทำรายได้จากการขายภาพเวกเตอร์ออนไลน์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ในการออกแบบภาพเวกเตอร์ประเภทธุรกิจของนักกราฟิกมืออาชีพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth interview) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักกราฟิกมืออาชีพ จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant) จากการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) และนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลโดยกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนา (Descriptive)

            ผลการศึกษาพบว่า นักกราฟิกมีการค้นหาตัวตนในการออกแบบภาพเวกเตอร์จาก ความชอบและใจรักด้านการออกแบบ รวมถึงการมีพื้นฐานด้านการออกแบบมาก่อน มีตัวอย่างด้านความคิดสร้างสรรค์จากการศึกษาภาพต้นแบบจาก เว็บไซต์ Pinterest Dribble Behance และ Shutterstock จนทำให้สามารถสร้างผลงานที่มีอัตลักษณ์ของตัวเอง โดยการเป็นต้นคิด มีความแปลกแตกต่าง การติดตามทิศทางการออกแบบ และความต้องการของลูกค้า

            งานวิจัยในครั้งนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวิชาการด้านการสื่อสารดิจิทัลและศาสตร์ด้านการออกแบบ ทั้งยังสามารถเป็นแนวทางให้กับนักกราฟิกที่ขายภาพเวกเตอร์ออนไลน์ นักกราฟิกทั่วไป และผู้ที่สนใจขายภาพเวกเตอร์ออนไลน์ นำแนวคิด การค้นหาตัวตน รวมไปถึงวิธีการการสร้างอัตลักษณ์ในการออกแบบภาพเวกเตอร์ประเภทธุรกิจที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการออกแบบภาพเวกเตอร์ที่มีอัตลักษณ์ของตนเองได้

References

ณัฐพงษ์ หมันหลี (2556). การสร้างอัตลักษณ์ในการถ่ายภาพดิจิทัลเชิงวารสารศาสตร์เหตุการณ์ชายแดนใต้ของช่างถ่ายภาพอาชีพ.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต)เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

รัชพล ยรรยงค์เดชา. (2557). รวยด้วย...ขายภาพเวกเตอร์ออนไลน์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น

วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2548). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

______ . (2552ข). Brand ส่วนบุคคล Personal Brand. เชียงใหม่: คณะสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2554). การสร้างแบรนด์บุคคล: ปั้นคนให้เป็นแบรนด์. วรสารนักบริหาร Executive Journal,218 ,106-116.

สุจรรยา โชติช่วง. (2554). การศึกษาสภาพการพัฒนาอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษาพิษณุโลก เขต 1. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุระ นวลประดิษฐ์. (2553). แชะ!!...รวยทะลุเลนส์ถ่ายภาพขายออนไลน์ธุรกิจสร้างเงินล้าน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น

สุดปฐพี เวียงสี. (2557). 5 กลยุทธ์การสร้างแบรน์. สืบค้น แหล่งที่มา 20 ตุลาคม 2560, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/579215/

อนุสรณ์ วิจารณ์ปรีชา. 2555. การสร้างอัตลักษณ์ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ด้วยกล้องดิจิทัลของนักถ่ายภาพมืออาชีพ. (ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต)เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Chen She Ying. 2555. การสร้างอัตลักษณ์การถ่ายภาพดิจิทัลสารคดีท่องเที่ยวของนักถ่ายภาพมืออาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต)เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26