ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, สมรรถนะการบริหารงานวิชาการบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 308 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) และทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .21-.85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .37-.84 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .96
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรพรรณ ทองปั้น. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
เพียรพันธุ์ กิจพาณิชย์เจริญ. (2552). สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม
กรุงเทพมหานคร. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศศิวิมล สุขทนารักษ์. (2554). ความสัมพนัธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะ การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3. (2558). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2559-2562. ชลบุรี:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 3.
สมมารถ สูรโรคา (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แสงเดือน จรบำรุง. (2556). สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทรรศนะของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, กาญจนบุรี:มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Improving organizational effectiveness through transformational
leadership. Thousand Oaks, CA: Sage.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1976). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for Intelligence. American Psychologist, 28, 1-14.
Nadaillac, A. (2003). The definition of competencies. Retrieved 14 January 2017, from: https://competency.rmutp.ac.th
Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership a survey of the literature. New York: Free Press.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ