ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตซ้ำความรุนแรงและแนวทางลดการซ้ำความรุนแรงในกระบวนการผลิตสื่อ: มุมมองจากนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ปัจจัย, การผลิตซ้ำ, ความรุนแรง, กระบวนการผลิตสื่อ, ละครโทรทัศน์บทคัดย่อ
การวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงในละครไทยนั้นได้รับการศึกษามาเป็นระยะ แต่ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอความรุนแรงมากนัก งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตซ้ำความรุนแรงในละคร และแนวทางการลดการผลิตซ้ำความรุนแรงในกระบวนการผลิตสื่อจากมุมมองของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการประชุมกลุ่ม (Focus group) กับนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์หรือการสื่อสารในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการผลิตซ้ำความรุนแรงในละครไทย คือ 1) การศึกษาที่ยังถ่ายทอดชุดความคิดแบบเดิม 2) พฤติกรรมของผู้ชมละครที่ไม่ใส่ใจด้านความรุนแรง 3) ผู้ผลิตละครเลือกเนื้อหาที่มีความรุนแรง 4) ผู้สนับสนุนการผลิตสื่อไม่ให้ความสำคัญต่อเนื้อหาความรุนแรง และ 5) ระบบในการตรวจสอบกันเองของสื่อที่ยังไม่เข้มแข็ง ด้านการลดการผลิตซ้ำความรุนแรงในกระบวนการผลิตสามารถทำได้ในกระบวนการก่อนการผลิต (Pre-Production) ได้มากที่สุด เนื่องจากการทำงานจะทำตามแผนงานที่ได้วางไว้ในขั้นตอนดังกล่าว ผลจากการวิจัยในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่องานวิชาการและวิชาชีพเพื่อลดการผลิตซ้ำความรุนแรงในการสื่อละครโทรทัศน์
References
บุหงาตันหยง (2559). 'ละคร'ความรุนแรงใน
สังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560 เข้าถึงจาก : shorturl.at/dxFJ4
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย(2557). สื่อกับ
ความรุนแรง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2560. เข้าถึงจาก https://goo.gl/2Vbikt
English
Fergusson, F. (2015). The idea of a
theater: a study of ten plays, the art of drama in changing perspective. Princeton University Press.
Flores, M. A., & Day, C. (2006). Contexts
which shape and reshape new teachers’ identities: A multi-perspective study. Teaching and teacher education, 22(2), 219-232.
Galtung, J. (1990). Cultural violence.
Journal of Peace Research, 27(3), 291-305. doi: 10.1177/002234339002
7003005
Galtung, J. (1996). Peace by peaceful means:
Peace and conflict, development and civilization (Vol. 14). Sage.
Khopolklang, N., Polnigongit, W., &
Chamnongsri, N. (2014). Influence of the Thai mass media on violence against women: Synthesis of research studies. Kasetsart Journal: Social Sciences, 35(1), 167-176.
Lyon, D. (2017). Digital citizenship and
surveillance| surveillance culture:Engagement, exposure, and ethics in digital modernity. International Journal of Communication, 11, 19.
Palfrey, J., & Gasser, U. (2013). Born
digital: Understanding the first generation of digital natives. Basic Books.
Prot, S., Anderson, C. A., Barlett, C. P., Coyne,
S. M., & Saleem, M. (2017). Content Effects: Violence in the Media. The International Encyclopedia of Media Effects.
Townsend, R. (2016). Prisoner of love: sexual
violence on Thai television. Critical Asian Studies, 48(4), 579-596.
Zettl, H. (2011). Television production
handbook. Cengage Learning.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ