การพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

-

ผู้แต่ง

  • ธนาดล สมบูรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพการบริหารการศึกษา, ผู้บริหารโรงเรียน, ครูประถมศึกษา

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ในการบริหารโรงเรียน 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ  การบริหารงบประมาณ  การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1  กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางของ เครจซีและมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ได้ขนาดตัวอย่าง 273 คน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งสอบถามเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาของผู้บริหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ในการบริหารโรงเรียน ทั้ง 4 ด้าน มีการปฏิบัติในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ คือ การบริหารวิชาการ  การบริหารงบประมาณ  การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป

References

ณัฐธิดา สีสืบวงศ์และจิติมา วรรณศรี. (2562). การศึกษาปัจจัยทางการบริหารและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยาศึกษา เขต 39. วารสารวิชาการ
บัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 9(1) (มกราคม-มิถุนายน), 47-60.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2544). คู่มือบริหารโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภา.
เสวี่ยง พาทอง. (2552). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมความสามารถทางวิชาการแก่ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสาวภาค พงษา. (2552). สภาพการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี : อุบลราชธานี.
อังสนา ศรีประเสริฐ. (2554, มกราคม – ธันวาคม). “7 Hurdles กับการทำงบประมาณแบบมุ่งเน้น
ผลงาน”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 4(1), 78.
Javis, O.T. (2009). Organizing supervising and administering the elementary School.
New York: Parker.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 607-610.
Parton, Dollie. (2002). New skills for New Leadership Roles. In the Leader of foundation, 3rd ed. New York: The Drucker Foundation.

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29