รูปแบบการบริหารจัดการห้องสมุดที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • นิรันดร์ ทองอ่อน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารจัดการ, ห้องสมุด, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, พึงประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือและศึกษารูปแบบการบริหารจัดการห้องสมุดที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาที่ใช้บริการห้องสมุดที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในปีการศึกษา 2560 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือจำนวน 8 แห่ง ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 20,000 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ พบว่า มีความต้องการอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความต้องการของนักศึกษาดังนี้ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการให้บริการ 2. รูปแบบการการบริหารจัดการห้องสมุดที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ ได้แก่ 2.1 ด้านสภาพแวดล้อม ควรออกแบบตกแต่งให้โดดเด่นทันสมัย สะดวกสบาย มีระบบรักษาความปลอดภัยได้มาตรฐาน      มีพื้นที่เป็นสัดส่วนและมีสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งวัสดุครุภัณฑ์และพื้นที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศอย่างเพียงพอและเหมาะสม 2.2 ด้านบุคลากร ต้องมีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีทักษะภาษาต่างประเทศ มีความกระตือรือร้น รวดเร็ว มีใจรักการบริการและให้บริการอย่างเสมอภาค รวมทั้งมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ และนำความรู้มาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.3 ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ควรเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และทรัพยากรสารสนเทศที่หลากหลาย ควรเป็นรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ลดการใช้กระดาษมาใช้รูปแบบอิเล็คทรอนิกส์หรือดิจิตัล มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง และควรมีฐานข้อมูลที่รองรับการสืบค้นออนไลน์ที่มีความสะดวกรวดเร็ว น่าเชื่อถือสามารถสืบค้นได้ตลอด 24 ชั่วโมง 2.4 ด้านการให้บริการ ควรมีการจัดการพื้นฐานครบถ้วนเบ็ดเสร็จจุดเดียว บริการช่วยค้นคว้า รวมทั้งมีอุปกรณ์เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศอย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด มีรูปแบบการบริการที่สอดคลองกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคใหม่ โดยมีการนำระบบอัตโนมัติและระบบออนไลน์มาใช้มากขึ้น

References

ดลณพร ใจบุญเรือง และนันทิยา ตุลเตมีย์.(2557). ความต้องการรูปแบบห้องสมุดและแนวทางการพัฒนาห้องสมุดของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย: นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

ธิดารัตน์ เจริญเขต.(2551). รูปแบบห้องสมุดมีชีวิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์).ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นูรีดา จะปะกียา,สูฮัยลา บินสะมะแอและซูลฟีกอร์ มาโซ.(2555). แนวโน้มการจัดบริการห้องสมุดในทศวรรษหน้าของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

น้ำทิพย์ วิภาวิน.(2548). การบริหารห้องสมุดยุคใหม่.กรุงเทพมหานคร:เอสอาร์พริ้นติ่งแมสโปรดักส์.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2556). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2555: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บานชื่น ทองพันชั่ง.(2544). แนวโน้มการพัฒนาคุณภาพห้องสมุดในสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่:สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์.(2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา): มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพรรณ จันทร์แดง.(2557). ห้องสมุดยุคใหม่.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วชิรา กันธิยะ.(2550). ความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่.(การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา).เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรพจน์ วีรผลิน.(2550). ความต้องการรูปแบบห้องสมุดที่พึงประสงค์ของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พ.ศ.2550.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศุมรรษตรา แสนวา.(2552). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่องค์การคุณภาพ.(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา): บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศักดา บุญยืด, มาลี ไชยเสนา และอรทัย เลียงจินดาถาวร.(2559). อนาคตภาพของสำนักวิทยาบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2558-2568).(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค).อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เสวียน เจนเขว้า.(2550). องค์ประกอบคุณภาพสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2545).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 สินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่ง.

อนันศักดิ์ พวงอก.(2556). การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าของห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ.(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา).ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรรัตน์ ศิริไปล์.(2560). แนวทางการพัฒนาการให้บริการของงานหอสมุดและสารสนเทศของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เผยแพร่แล้ว

2022-06-17