แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2
-
คำสำคัญ:
คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 จำนวน 25 คน และครูผู้สอนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 จำนวน 330 คน รวมจำนวน 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบภาพคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบบันทึกสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า
คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบคุณลักษณะ 5 ด้าน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยนเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีและการสร้างบารมี และ ด้านการสร้างและการสื่อสารวิสัยทัศน์
คำสำคัญ : คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
References
ณัฐฌานันท์ เรือนตาหลวง. (2554). พฤติกรรมกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในผู้บริหารสถานศึกษาของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพกษัตรี.
ธีระ รุณเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เซนทรัลเอกเพลส.
นิกร บุญมาก. (2555). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประทีป บินชัย. (2546). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวทางภาวะผู้นำพิสัยสมบูรณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2547). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2547). การบริหาร:หลักทฤษฎีประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์องค์กรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์.
สมชาย เทพแสง. (2547). E-Leadership : ผู้นำการศึกษาในยุคดิจิตอล. วารสารวิชาการ, 7(1), 55-62.
สมหวัง อาลัยญาติ. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
สาคร เจริญกัลป์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุเทพ เชาวลิต. (2549). นักบริหารทันสมัย. กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
อารี กังสานุกูล. (2553). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Drake, T. L., & Roe, W. H.,. (1996). The principal ship. New York: Macmillan.
Katz, R. L. (2005). Skills of an effective administrators. Harvard Business Review, 30, 45-61.
Lee, D. M. (2008). Skills for Potential School Administrators: A Case Study of One Saskatchewan Urban School Division. University of Saskatchewan. Saskatoon.
Rulh. (1985). “The Delvelopment of a server of school Effectiveness (climate,Principle Leadership)”. Dissertation Abstract Internationnal.
Sergiovanni, T. J. S. R. J. (1983). Supervision Human Perspective. New York: McGraw-Hill.
Wiles, K. l. (1975). Supervision for better schools. New Jersey: Prentice-Hall.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ