ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งาน Microsoft Publisher สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
คำสำคัญ:
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใชัทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่องการใช้งาน Microsoft Publisher สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ประชากรเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ แบบวัดความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าดัชนีประสิทธิผล ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการใช้งาน Microsoft Publisher สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (μ=4.27, σ=0.41) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.23/83.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 มีค่าดัชนีประสิทธิผลของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเท่ากับ 0.68 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (μ=4.58, σ=0.62)
References
กระทรวงศึกษาธิการ, (2556). ศธ.จี้ครูปรับบทบาทใหม่ทันกับเทคโนโลยีสอนเด็ก.สืบค้นเมื่อ12 มิถุนายน2562.
แหล่งที่มา http://www.moe.go.th/
การุณ ปัญจะสุวรรณ์, (2553). สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการและแผนการบริหารจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและการ
สื่อสาร โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล เทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช
ชัยยงค์ พรหมวงศ์, (2531).ชุดการสอนระดับประถมศึกษา. (เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพฯ :ภาพพิมพ์.
ซ่อนกลิ่น เรืองยังมี, (2552).ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะปฏิบัติตามแนวคิด
ของเดวีส์ที่มีต่อความสามารถด่านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. หลักสูตรศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยทักษิณ
นัฐพล สุขเสาร์, (2554).การใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ในรายวิชาระบบเครือข่ายเบื้องต้น วิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่.ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นันทพร มรกต, (2556).การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยทักษะปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Microsoft Power Point 2007 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.หลักสูตรปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บุญชม ศรีสะอาด, (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.
พิสุทธา อารีราษฏร์, (2551).การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
ภูมิพัฒน์ สิทธิ์ทัศน์กุล, (2560).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะปฏิบัติคีย์บอร์ดสำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดการสอนดนตรีสากลเบื้องต้น.หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาสขาวิชา หลักสูตรและการเรียนการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เยาวดี วิบูลย์ศรี, (2545). การวัดผลและการสร้างแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรีวรรณ โขนงนุ,. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเขียนลายสังคโลกโดยใช้รูปแบบการเรียน
การสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย
จังหวัดสุโขทัย.ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ศิรินภา โพธิ์ทอง, (2562). ผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียตามแนวคิดการสอนทักษะปฏิบัติ
ของเดวีส์เรื่อง การสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
อิสริยา เผ่าพันธุ์ดี, (2555).การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้รูปแบบการสอน ทักษะ ปฏิบัติของเดวีส์ เรื่อง การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์พับลิชเชอร์.ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เอกภพ สุดสะอาด, (2557).การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้งานโปรแกรมประยุกต์บนวินโดวส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชา การจัดการหลักสูตร และ
การเรียนรู้. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ