การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ รอดสิน มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กลวิธีเมตาคอกนิชัน, การโค้ช, ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช  2)                   เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง (Pre-Experimental Design) โดยประยุกต์ใช้แบบการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว (The One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ครูภาษาไทยโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 6 คน และ 2) นักเรียนจำนวน 240 คน ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา2560 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช 2) คู่มือการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย 4) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 6) แบบบันทึก และ 7) แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (Dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

 

ผลการวิจัย พบว่า

              1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช (3P Model) ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียม (Prepare: P) 2) ขั้นปฏิบัติการ (Process: P) และ 3) ขั้นผลผลิต (Product: P) การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ (3P) ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ

              2. ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช พบว่า

                  2.1 คะแนนความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                   2.2 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย จากการประเมินครั้งที่ 1-3 พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สูงขึ้นตามลำดับ

                    2.3 ความคิดเห็นของครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

                   2.4 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ด้วยกลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการโค้ช พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

References

เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2546). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่
แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545.กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเค จำกัด
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). การคิดเชิงวิเคราะห์(Analytical Thinking). (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแล
ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู” วิทยานิพนธ์
หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธีการ เทคนิคการสอน 2.
กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552). เอกสารหลักสูตรอบรมแบบ e-Training หลักสูตร
การพัฒนาการคิดขั้นสูง. โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบภายใต้ ปฏิบัติการไทยเข้มแข็งด้วย
ระบบ E-training.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2574. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). การนิเทศการสอนและการโค้ชการพัฒนาวิชาชีพ : ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
(พิมพ์ครั้งที่12). (ฉบับปรับปรุงใหม่). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวัง
สนามจันทร์ นครปฐม.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ :
จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Abraham H. Maslow, “A Theory of Hunman Motivation” Psychological Review vol. 50. 1943
PP 340-396
Bloom Benjamin S., et al. (1956). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David
Mckay Company.
Brown, A. L.; Baker, L.; & Armbruster, B. B. (1986). The Role of Metacognition in Reading
and Studying. In J. Orasan. Reading Comprehensions: From Research to
Practice. Hillsdale: Eribaum.
Flavell, G.H. (1979). Metacognition and congnitive monitoring: a new area of psychological
inquiry. American psychologist.34,906-911.
Garmston, R. (1987, February). “How Administrator Support Peer Coaching.” Educational
Leadership. 44(5).
Gottesman, Barbara L., & James O. Jennings. (1994). Peer coaching for educators.
Pennsylvania: Technomic.
Jacobowitz, Tina. (1990, May). AIM: Metacognitive Strategy for Constructing the Main Idea of
Text”. Journal of Reading. (12): 620-624.
Joyce, B.; & B., Shower. (1987, October). The Coaching of Teaching. Educational Leadership.
Kotter, John P. (1996). Leading Change. Boston: Harvard Business Press.
Tuckman, B. W. (1976). Conducting educational research. New York: Harcourt Brace Javanovich.

เผยแพร่แล้ว

2020-12-14