การวิเคราะห์ภูมิบ้านนามเมืองที่สัมพันธ์วรรณกรรมพื้นบ้าน : กรณีศึกษานิทานพื้นบ้านเรื่องสังข์ทองฉบับทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
สังข์ทองฉบับทุ่งยั้ง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม วรรณกรรมสังข์ทองฉบับทุ่งยั้ง ในด้านความรู้ทางด้านวรรณกรรมพื้นบ้านที่มีข้อมูล และเรื่องราวที่มีการเล่าขานสืบต่อกันมา ด้านประวัติชื่อสถานที่สำคัญของ ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จากวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่อง “สังข์ทองฉบับทุ่งยั้ง”
ผลการศึกษาข้อมูลจากปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์พบว่า วรรณกรรมสังข์ทองฉบับทุ่งยั้งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภาษาที่เป็นความภาคภูมิใจของชาวตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความเชื่อว่าเป็นต้นแบบวรรณคดีเรื่องสังข์ทองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒ ) เรื่องสังข์ทองนี้เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านและเป็นนิทานพื้นบ้านไทยที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนานเป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มีตัวละครสำคัญ คือ เจ้าเงาะหรือพระสังข์และนางรจนา และยังปรากฏสถานที่สำคัญในเขตตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องสังข์ทอง
References
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันดำรงราชานุภาพ.
นคร พันธุ์ณรงค์. (๒๕๒๒). วัฒนธรรมพื้นบ้านเมืองทุ่งยั้ง. ม.ป.ท. : ศูนย์สุโขทัยศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์. (๒๕๔๓). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ครุรุสภาลาดพร้าว.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ