การศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้าง“有(มี)+กริยา” ในภาษาจีนกลางและโครงสร้าง“มี+กริยา” ในภาษาไทยถิ่นเหนือ

ผู้แต่ง

  • สุขหรรษา ยศแสน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • นูรลีซาวาตี อาแด
  • อาริตา สัมมารัตน์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

有, มี, ภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาจีนกลาง, เปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างทางอรรถศาสตร์ของโครงสร้าง “有(มี)+กริยา” ในภาษาจีนกลางและโครงสร้าง“มี+กริยา” ในภาษาไทยถิ่นเหนือ เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายที่แต่ละภาษาต้องการสื่อเมื่อใช้โครงสร้างดังกล่าวในสื่อสาร ผลการศึกษาสรุปได้ว่าโครงสร้างประโยค“有+กริยา” ในภาษาจีนกลางมี 5 ความหมาย ได้แก่ บ่งบอกถึงการเน้นย้ำ บ่งบอกถึงปริมาณน้อย น้ำหนักน้อย  บ่งบอกถึงกริยา อาการที่กระทำเสร็จไปแล้ว บ่งบอกถึงการกระทำหรือกริยานั้นได้เกิดขึ้นแล้ว และบ่งบอกถึงการกระทำที่ดำเนินต่อเนื่อง สำหรับโครงสร้าง “มี+กริยา” ในภาษาไทยถิ่นเหนือมีความหมาย 4 ความหมาย ได้แก่ บ่งบอกถึงการเน้นย้ำ บ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บ่งบอกถึงความมั่งมี ร่ำรวย และบ่งบอกถึงอยู่ในครอบครอง ถือเป็นเจ้าของ ซึ่งทั้งสองโครงสร้างมีการสื่อถึงความหมายคล้ายคลึงกัน 2 ความหมาย คือ บ่งบอกถึงการเน้นย้ำและบ่งบอกการกระทำหรือกริยานั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันทั้งสองโครงสร้างก็ยังมีการสื่อถึงความหมายที่ต่างกันออกไปด้วย คือ โครงสร้าง“有+กริยา” ในภาษาจีนกลางไม่มีความหมายที่บ่งบอกถึงความมั่งมี ร่ำรวยและไม่มีการบ่งบอกถึงการครอบครอง ถือเป็นเจ้าของ และโครงสร้าง“มี+กริยา” ในภาษาไทยถิ่นเหนือไม่มีความหมายที่บ่งบอกถึงปริมาณน้อย น้ำหนักน้อย ไม่บ่งบอกถึงกริยาหรืออาการที่กระทำเสร็จไปแล้ว และไม่มีความหมายที่บ่งบอกถึงการกระทำที่ดำเนินต่อเนื่อง

 

References

กรรณิการ์ วิมลเกษม. (2555). ภาษาไทยถิ่นเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ท่าวังพระ.
สรบุศย์ รุ่งโรจน์สุวรรณ. (2555). ไวยากรณ์ภาษาไทยถิ่นเหนือ. (พิมพ์ครั้งที่3). เชียงราย: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชอบพิมพ์.
曹利华. (2016). 论现代汉语“有+VP”中“有”的情态动词功能. 语言本体研究, 2016(03), 60-62.
陈蕾. (2010). 认知视野下构式“有+VP”的解读. 长春师范大学学报, 2010(01), 92-94.
陈叶红. (2006). 现代汉语“有”字本义探讨. 安阳工学学报, 2006(06), 120-123.
范晓. (1998). 汉语的句子类型. 山西: 书海出版社.
苟曲波. (2010). “有+VP”结构的三个平面考察. 新余高专学报, 2010(02), 56-58.
孔见. (2002). 从“有”与“have”谈开去. 山东农业大学外语学院, 2002(03), 75-79.
李晶晶. (2017). “有+VP”结构的主观性及语用功能. 学术交流, 2017(03), 160-165.
卢丽敏. (2012). 汉语的“有”字句在泰语中的对应表达方式分析. (硕士学位论文). 哈尔滨: 黑龙江大学.
汪景民. (2016). 现代汉语“有+VP/V”句式成因刍议. 语言本体研究, 2016(06), 65-68.
杨成丰. (2014). 汉泰语存现句对比研究兼论泰国学生汉语存现句习得偏误. (硕士学位论文). 南宁: 广西民族大学.
易红. (2015). “有”字句研究. 湖北民族学院学报, 2015(05), 168-173.
袁毓林, 李湘, 曹宏 และ王健. (2009). “有”字句的情景语义分析. 中国学术出版社, 2009(03), 291-307.
张聪艺. (2015). “有+VP”句式研究. 文山学院学报, 2015(04), 75-77.
张豫峰. (1998). “有”字句研究综述. 中国学术期刊电子杂志社, 1998(06), 28-32.
中国社会科学院语言研究所词典编辑室. (2016). 现代汉语词典. (第7版). 北京: 商务印书馆.

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29