การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning: CBL) เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และทักษะ ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • ดวงจันทร์ แก้วกงพาน คณะวิทยาศาสตร์
  • แสงงาม นิธิภคพันธ์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 2).ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3) ศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ4).ศึกษาเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้.ได้แก่.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่.1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย.ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน.2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ 3) แบบประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.สถิติใช้ทดสอบสมมติฐาน t-test.for Dependent.Sample

             ผลการวิจัย พบว่า.1).การออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็น.พบว่า.การจัดกิจกรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานทั้ง 5 กิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาสาระในบทเรียนให้สัมพันธ์กับชุมชน ผ่านการบูรณาการสาระความรู้ในศาสตร์วิทยาศาสตร์กับกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับข้าวโพดที่ปลูกในชุมชน ผ่านประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติจริงตามขั้นตอน ขั้นเตรียมการ ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นสะท้อนคิด และขั้นนำผลสู่ชุมชน 2).ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. 3).ทักษะในศตวรรษที่ 21.ภาพรวมมีค่าเท่ากับ.(µ.=.3.65,.S.D..=.0.43) อยู่ในระดับสูงมาก และ 4) เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ภาพรวมมีค่าเท่ากับ (µ.=.4.57, S.D..=.0.48) อยู่ในระดับสูงมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
กล้า ทองขาว. (2561). การจัดการศึกษาฐานชุมชน
Community-based Education
Management = CBEM), สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2562, จาก www.dpu.ac. th/ces/download.php?filename=137
7584927.docx.
จงกลนี.ภัทรกังวาน.และ สมประสงค์.น่วมบุญลือ.
(2562)..การศึกษาพฤติกรรมการวางแผน.เรื่อง.การจัดการสิ่งแวดล้อม.สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน..วารสารคณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะมหาวิทยาลัยศิลปากร..1(12), 229-244.
เจียมจิต แสงสุวรรณ. (2558). การจัดการเรียนการสอน
แบบใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based
Learning). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,
โครงการ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้รียนเป็นสำคัญ ประจำปี 2558. การประชุม
จัดโดยสำนักพัฒนาคุณภาพ การศึกษา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, ห้องประชุมศรีเมือง
ใหม่ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.
ดิษยุทธ์.บัวจูม.และคณะ..(2557)..การพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อ สร้างความสนใจและทักษะในอาชีพท้องถิ่นของ
นักเรียน โรงเรียนบ้านพะแนงวิทยา..วารสาร
พฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร
วิโรฒ..20(2),.19-36.
ภูษณิศา มีนาเขตร และสิริทรัพย์ สีหะวงษ์..(2560)..ศึกษา
ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการใช้ Courseville ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพต่อการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่.21.ของนักศึกษาพยาบาล..วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา..25(1), 74-87
มณฑา อุดมเลิศ และสืบตระกูล ตันตลานุกุล. (2561)..
ผลการสอนแบบบูรณาการโดยใช้แหล่งเรียนรู้
ในชุมชนเป็นสื่อ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ในชุมชนด้วยภูมิปัญญาไทยวิถีไทย วิชาการ
พยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1ของนักศึกษา
พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อุตรดิตถ์..วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
อุตรดิตถ์..10.(2),.234-247.
วราพร เขียวแก้ว. (2560). การจัดการเรียนรู้วิชาเคมีโดย
ใช้ชุมชนเป็นฐาน.เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์และการนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4, สืบค้น 19 พฤศจิกายน
2562, จากใhttp://www.
Sungnoen.ac.th/researchwaraporn- RD.pdf.
วิจารณ์ พานิช. (2556). นวัตกรรมสู่การเป็น ประเทศแห่งการศึกษา, สืบค้น 17 พฤศจิกายน 2562,.จาก https://www. gotoknow.org/posts/5659 09.
วิทยา สุจริตธนารักษ์ และคณะ. (2560). การใช้ชุมชน
เป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม:กรณีศึกษา
ชุมชนพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 9(2), 205-211.
วิภาพรรณ พินลา. (2561). การจัดการเรียนรู้สังคม ศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุมชนเป็นฐาน: กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ที่ มีประสิทธิภาพของครูในศตวรรษที่ 21. วารสาร
ราชพฤกษ์บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 11(3), 179-191.
ศรีวรรณ ฉัตรสุริยวงศ์ และมาเรียม นิลพันธุ์..2559)..
กระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็น
ฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์.สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา..วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8(1),.183-197.
สุภา อยู่ยืน และคณะ. (2548). ผลการจัดการเรียน การสอนแบบบูรณาการโดยใช้ชุมชนเป็น ฐานในรายวิชามนุษย์กับสุขภาพและ สิ่งแวดล้อม และวิชาสังคมไทย นักศึกษา พยาบาล ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราช
ชนนีสุรินทร์ ปีการศึกษา 2547. สืบค้น 14 พฤศจิกายน 2562, จาก http://ulib.bcnsurin .ac.th/ULIB/dublin.emailme.php?id=123 34102594.
Bedri, Z, de Frein, R. and Dowling, G. (2017, December 18). Community-based learning : A primer. Irish Journal of Academic Practice, 6(1), Retrieved on October 4, 2020, from https://arrow. tudublin.ie /ijap/vol6/ iss1/5/
Collins A., Brown J.S. & Newman S.E. (1989). Cognitive apprenticeship: Teaching the craft of reading, writing and matematics. In L.B. Resnick (Ed.). Knowing, learning and instruction: Essays in honor of Robert Glaser. Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Melaville, A, Berg, A. C. and Blank M. J. (2015, May 20). Community-based learning : Engaging students for success and citizenship. Partnerships/Community. Paper 40. Retrieved on October 4, 2020, from http://digitalcommons. unomaha. edu/slcepartnerships/40
Mthembu S, Mtshali N and Frantz J. (2014). Contextual determinants for community-based learning programmes innursingeducationinsouthAfica. South African Journal of Higher Education, 28(6), 1795-1813. Retrieved October 4, 2020, from file:///C:/Users/2018-5- 10/Downloads/2014MTHEMBUMtshaliFra ntzSAJHE%20(1).pdf
Owens,.T. R., &. Wang, C. (1996)..Community
Based Learning: A Foundation for Meaningful Educational Reform. Retrieved on November 14, 2019, from https://digitalcommons.unomaha.edu/c gi/viewcontent.cgi?article=1043&context =slceslgen

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29