อิทธิพลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานต่อ มโนมติเกี่ยวกับ อุปราคา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

สมาพร สุยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนมติเรื่อง อุปราคา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่เรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ซึ่งออกแบบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวชิราลัย อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 28 คน และดำเนินการวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2. แบบทดสอบวัดมโนมติทางดาราศาสตร์พื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความเข้าใจมโนมติเรื่อง อุปราคา ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  โดยนักเรียนมีค่าเฉลี่ยระดับความเข้าใจมโนมติเกี่ยวกับอุปราคา ทั้งหมดหลังการจัดการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 0.00 เป็นร้อยละ 64.28 และจากการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นจริงของนักเรียน(Normalized Gain) ที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานพบว่า มโนมติเรื่อง อุปราคา มีค่าผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นจริงเท่ากับ 0.78 แสดงว่ามีการพัฒนาอยู่ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นุชนารถ แสนพุก. (2559). ความเข้าใจดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและดวงดาวบนท้องฟ้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พิทักษ์พงษ์ สมปาน และกรีฑา แก้วคง. (2561). มโนทัศน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับการเกิดฤดู. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา,1(2), 162-170.
วสุพงษ์ อิวาง และ กรีฑา แก้วคง. (2562). มโนทัศน์ดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. วารสารครุศาสตร์, 47(3), 384-403.
สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้น 1 ตุลาคม 2562, จาก http://www.niets.or.th
สุวิทย์ คงภักดี. (2553). ผลของการสอนดาราศาสตร์แบบสืบเสาะโดยใช้นวัตกรรมแบบจำลองระบบโลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Artdej R., Meela P., & Sriboonlert S. (2014). The role of model-based inquiry in supporting students’ conceptual understanding. Proceedings of the Australian Conference on Science and Mathematics Education, 112- 119.
CAER (Collaboration for Astronomy Education Research). (1999). Astronomy Diagnostic Test V 2.0. สืบค้น 29 พฤษภาคม 2562, จาก http://solar.physics.montana.edu/aae/adt/.
Chih-Chiang, Y. and Jeng-Fung, H. (2012). Using Conceptual Change Theories to Model Position Concepts in Astronomy. US-China Education Review, 11, 917-931.
Diakidoy and Kendeou. (2001). Facilitating conceptual change in astronomy: A comparison of the effectiveness of two instructional approaches. Learning and Instruction, 11, 1-20.
Feral Ogan-Bekiroglu. (2007). Effects of Model-based Teaching on Pre-service Physics Teachers’ Conceptions of the Moon, Moon Phases, and Other Lunar Phenomena. International Journal of Science Education, 29, 555-593.
Gobert and Buckley. (2000). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education, 22, 891-894.
Haristiani, Aryanti, Nandiyanto, Sofiani. (2017). Myths, Islamic View, and Science Concepts: The Constructed Education and Knowledge of Solar Eclipse in Indonesia. Journal of Turkish Science Education, 14, 35-47.
Joanne Rosvick. (2008). An interactive Demonstration of Solar and Lunar Eclipses. The Astronomy Education Review, 7, 112-121.
Justi R.S. and Gilbert J.K. (2002). Models and Modelling: Routes to More Authentic Science Education. International Journal of Science and Mathematics Education, 2, 115-130.
Mark Guy and Timothy Young. (2010). Creating Eclipses: Using Scale Models to Explore How Eclipses Happen. Science Activities, 47, 75-82.
Oh, P. S., & Oh, S. J. (2011). What teachers of science need to know about models: an overview. International Journal of Science Education, 33(8), 1109-1130.
Richard R. Hake. (1998). Interactive-engagement versus traditional methods: A six-thousand-student survey of mechanics test data for introductory physics courses. American Journal of Physics, 66, 64-74.
Sarioglan and Uysal. (2019). Effect of Technology-Integrated Inquiry Based Learning Approach on Middle-School Students’ Conceptual Understanding of Lunar Eclipse.The Eurasia Proceedings of Educational & Social Sciences, 14, 27-33
Semercioglu. (2021). Understanding of teachers on phases of the moon and the lunar eclipse. European Journal of Education Studies, 8, 102-131.
Shawn Stover and Gerry Saunders. (2000). Astronomical misconceptions and the effectiveness of science museums in promoting conceptual change. Journal of Elementary Science Education, 12, 41-51.
Trumper, R. (2001). A cross-age study of junior high school students’ conceptions of basic astronomy concepts. International Journal of Science Education, 23(11), 1111-1123.