รูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร ภายหลังสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • สิริลักษณ์ พานุช คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ฐานวิถีชีวิตใหม่;การเลือกซื้ออาหาร;ผู้บริโภค;เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019;กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร ภายหลังสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) 2) การรับรู้ข้อมูลการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) 3) รูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร ภายหลังสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) 4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร ภายหลังสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข้อมูลการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) กับรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร ภายหลังสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าไคสแควร์

ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 222 คน มีอายุ 20-30 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีอาชีพนักงานบริษัท/ลูกจ้างเอกชน และมีรายได้เฉลี่ย 10,001–20,000 บาท 2) การรับรู้ข้อมูลการระบาด พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ได้รับแหล่งที่มาของข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข บุคคลที่เป็นสมาชิกในครอบครัว และช่องทางการรับรู้ข้อมูลจากโทรทัศน์  3) รูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ตรวจสอบความพร้อมของสุขภาพตนเองเบื้องต้น ก่อนเดินทางไปเลือกซื้อหรือใช้บริการ เลือกร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารจานเดียว เนื้อสัตว์ อาหารจานเดียวประเภทข้าวราดแกง ไก่ทอด ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ อาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภทเส้น ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แช่แข็ง น้ำเปล่า และผลิตภัณฑ์ขนมไทยชนิดต่างๆ ไปซื้อด้วยตัวเอง มีการใช้จ่าย น้อยกว่า 500 บาท และตัดสินใจด้วยตัวท่านเอง 4) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ และระดับการศึกษา
มีความสัมพันธ์กับรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) แหล่งที่มาของข้อมูลการระบาด จากบุคคลที่ให้ข้อมูลการระบาดมีความสัมพันธ์กับรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ในการเลือกซื้ออาหารของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29