ผลของการจัดการเรียนรู้แบบพีโออี ที่มีต่อมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 4 เรื่อง แสงและการมองเห็น

ผู้แต่ง

  • ฐิติมา นันตีสู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบพีโออี, ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้แบบพีโออี ที่มีต่อมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนดรุณพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และมีการให้เหตุผลประกอบ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนความเข้าใจมโนมติก่อนและหลังเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนมีจำนวนนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง (SU+PU) คิดเป็นร้อยละ 32.89 หลังเรียนมีจำนวนนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง (SU+PU) คิดเป็นร้อยละ 85.34 นอกจากนี้มโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแสงซึ่งค้นพบจากงานวิจัยนี้ จะได้นำมาวิเคราะห์และอภิปรายเพื่อเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ผ่านมา เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างและองค์ความรู้ที่ค้นพบขึ้นใหม่จากงานวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เกียรติมณี บำรุงไร่. (2553). การพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 1 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Predict – Observe – Explain (POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: คลองช่าง.

ณราภรณ์ บุญกิจ. (2553). ตัวแทนความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องแสง จากการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน
บนพื้นฐาน ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์โดยใช้วิธีการเรียนรู้ แบบ ทํานาย สังเกต อธิบาย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
น้ำค้าง จันเสริม. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เรื่องงานและพลังงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 บนพื้นฐานของ
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้วิธี PREDICT-OBSERVE-EXPLAIN (POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สงกรานต์ มูลศรีแก้ว. (2553). ตัวแทนความคิด เรื่อง ของไหล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 บนพื้นฐานของทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบทำนาย – สังเกต –อธิบาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวิทย์ มูลคำ. (2556). กลยุทธ์การสอนคิดเชิงมโนทัศน์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Baodi, G. (2003). Contemporary teaching strategies in general chemistry. The China Paper, (July), 39-41.
Bell, A. (1993). Some Experiments in Diagnostic Teaching. Educational Studies in Mathematics, 24,
115–137.
Bendall, Sharon , Goldberg, Fred and Galili, Igal (1993). Prospective Elementary Teacher’s Prior Knowledge
about Light. Journal of Research in Science Teaching, 30(9), 1169-1187.
Calik, M. and Ayas, A. (2005). A comparison of level of understanding of eighth-grade students and
science student teachers related to selected chemistry concepts. Journal of Research in
Science Teaching 42: 638–667.
Dykstra. Et al. (1992). Studying Conceptual Change in Learning Physics. Science Education, 76(6), 615-652
Fethterstonhaugh, Tony. and Treagust, David F. (1992). Students’ Understanding of Light and Its
Properties : Teaching to Engender Conceptual Change. Science Education. 76 (6) : 653-672.
Galili, Iga , Bendall, Sharon and Goldberg, Fred (1993). The Effects of Prior Knowledge and Instruction on
Understanding Image Formation. Journal of Research in Science Teaching, 30(3), 271-301
Haidar, A.H. (1999). Prospective chemistry teachers’ conceptions of the conservation of matter and
related concepts. Journal of Research in Science Teaching 34: 181–97.
Haysom, J. and Bowen M. (2010). Predict Observe Explain Activities Enhancing Scientific Understanding.
National Science Teacher Association.
Howe, A. (1996). Development of Science Concepts within a Vygotskian Framework. Science Education,
80, 35-51.
Hsu, C.-Y., Tsai, C.-C., Liang, J.-C. (2011). Facilitating preschoolers' scientific knowledge construction via
computer games regarding light and shadow: The effect of the prediction-observation-explanation
(POE) strategy. Journal of Science Education and Technology, 20, 482–493
Kearney, M. and Treagust, D.F. (2001). Constructivism as a referent in the design and development of a
computer program using interactive digital video to enhance learning in physics. Australian Journal
of Educational Technology, 17(1), 64-79.
K. Wosilait, P. R. L. Heron, P. S. Shaffer, and L. C. McDermott (1998). “Development and assessment of a
research-based tutorial on light and shadow,” Am. J. Phys. 66(10), 906–913
Palmer D. (1995). The POE in the Primary School : And Evaluation [Abstract]. Research in Science
Education, 25(3), 323-332.
Peker, D., & Wallace, S. C. (2011). Characterizing High School Students’ Written Explanations in Biology
Laboratories. Research in Science Education, 41(2), 169-191
Saxena, A. B. (1991). The Understanding of the properties of light by students in India. International
Journal of Science Education, 13(3), 283-289.
Tao, P. and Gunstone, R. (1997). The process of conceptual change in ‘Force and Motion. ERIC Document
ED. 407 259.
White, R. and Gunstone, R. (1992). Probing Understanding. London: The Falmer Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28