ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19
คำสำคัญ:
บริการขนส่งอาหาร การตัดสินใจ ส่วนประสมทางการตลาด ร้านอาหารออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครระหว่างการแพร่ระบาดโควิด-19 2) เปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ที่แตกต่างกัน ตามปัจจัยประชากรศาสตร์ และ 3) พยากรณ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่เคยใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์จำนวน 407 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลสถิติหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าแจกแจงความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปร และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 20-30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ระหว่าง 15,001-30,000 บาทต่อเดือน ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ และผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 3 ปัจจัย เรียงลำดับความสำคัญคือ ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ประกอบการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธุรกิจร้านอาหารสามารถนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์และการบริการขนส่งอาหาร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืนและดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
References
ชนิภา ช่วยระดม. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งซื้ออาหารผ่าน Food Panda Application ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1(2), 43-55.
ณัฐศาสตร์ ปัญญานะ และ วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการอาหารตามสั่งแบบจัดส่ง. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 11(1), 53-66.
วิริยา จันทร์ทอง และ ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารออนไลน์ผ่านฟู้ดแพนด้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/714
Altay, B.C., Okumus, A. & Mercangoz, B.A. (2021). An intelligent approach for analyzing the impacts of the COVID-19 pandemic on marketing mix elements (7Ps) of the on-demand grocery delivery service. Complex & Intelligent Systems, 1-12.
Bagozzi, R.P. (1986). Principles of marketing management. Chicago: Science Research Associates.
Bujang, M.A., Sa’ at, N. & Sidik, T.M.I.T.A.B. (2017). Determination of minimum sample size requirement for multiple linear regression and analysis of covariance based on experimental and non-experimental studies. Epidemiology, Biostatistics and Public Health, 14(3), 1-9.
Churchill, GA & Peter, JP. (1998). Marketing: Creating Value for Customers. Boston: Irwin/McGraw-Hill.
GSMA. (2020). The mobile economy. https://www.gsma.com/mobileeconomy/
Hawkins, D.I. & Mothersbaugh, D.L. (2013). Consumer Behavior: building marketing strategy. New York: McGraw-Hill Irwin.
Kotler, P. (1997). Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9thed.). New Jersey: Asimmon &Schuster.
Kotler, P. (2000). Marketing Management. New Jersey: Prentice Hall.
Mehrabian A. & Russell JA. (1974). The Basic Emotional Impact of Environments. Perceptual and Motor Skills. 38(1): 283-301.
Mehrolia, S., Alagarsamy, S., & Solaikutty, V.M. (2021). Customers response to online food delivery services during COVID-19 outbreak using binary logistic regression. International Journal of Consumer Studies, 45(3), 396-408.
Nunnally, J.C. & Benstein, I.H. (1994). Psychometric Theory (3rd ed.). McGraw-Hill.
Payne, J. W., Bettman, J. R., & Johnson, E. J. (1993). The adaptive decision maker. Cambridge University Press.
Prasetyo, Y.T., Tanto, H., Mariyanto, M., Hanjaya, C., Young, M.N., Persada, S.F., …& Redi, A.A.N.P. (2021). Factors affecting customer satisfaction and loyalty in online food delivery service during the covid-19 pandemic: Its relation with open innovation. Journal of Open Innovation: Technology, Market, and Complexity, 7(1), 76.
Rosa, A., & Yunita, D. (2020). Consumer Decision on Online Food Delivery. Sriwijaya Economics, Accounting, and Business Conference (SEABC 2019). (pp. 418-422). Atlantis Press.
Solomon, M.R., Russelly, R.B & Previte, J. (2013). Consumer Behavior: Buying, having and being (10th ed.). London: Prenticle Hall.
Statistia. (2019). eServices report 2019 – online food delivery. https://www.statista.com/study/40457/food-delivery/
Stern, H. (1962). The significance of impulse buying today. Journal of Marketing, 26, 59-63.
Walter J. M. (1978). Kickert: Fuzzy Theories of Decision Making. Boston: Martinus Nighoff.
Woodworth, R. S., & Schlosberg, H. (1954). Experimental psychology (Rev. ed.). Holt.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ