พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเล ในอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ บุญเพ็ชร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ขยะทะเล การรับรู้ข่าวสาร ความตระหนักรู้ การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1).เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะทะเลของประชากร 2).เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะของประชากรกับความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลของประชากร 3).เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างลักษณะของประชากรกับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเลของประชากร 4).เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลกับความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะทะเล 5).เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลกับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเล 6).เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลกับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเลจากกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในอำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ชุด โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent Sample T-test, (One-Way ANOVA) F-test และ Correlation Analysis ผลการวิจัยพบว่า พบว่า 1).ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะทะเลแตกต่างกัน 2).ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการปัญหาขยะทะเลแตกต่างกัน 3).ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า 4).ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลของประชากรกับความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะทะเล ที่มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและอยู่ในระดับสูง (r=0.455) 5).ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเลของประชากร ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกและอยู่ในระดับสูง (r=0.534) และ 6).ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลกับการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาขยะทะเล มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและอยู่ในระดับ (r=0.723)

 

คำสำคัญ: ขยะทะเล การรับรู้ข่าวสาร ความตระหนักรู้ การมีส่วนร่วม

References

กันทลัส ทองบุญมา (2559) ศึกษาเรื่อง การเปิดรับข่าวสาร และการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์คลองบางขุนเทียนของประชาชนในเขตเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม)
กุลวดี ราชภักดี, 2545, ความตระหนักและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของนักศึกษาในหอพักสถาบันอุดมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ. หน้า 38.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, “ความหมายของขยะในทะเล” [Online]. 2562. แหล่งที่มา : https://km.dmcr.go.th/th/c_260 [16 [16 ธันวาคม 2563]
คณะอนุกรรมการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล, ฐานความรู้ทางทะเล “ขยะทะเล” [Online]. 2562. แหล่งที่มา : https://www.dmcr.go.th/infoAll/191?sortnews=1&keyword=%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5&limitnews=13 [20 ธันวาคม 2563]
จันทร์เพ็ญ มีนคร. 2554. “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม”. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หน้า 44
ชัยยศ ยงค์เจริญชัย. “มาเรียม : การจากไปของมาเรียมกับ3 ภัยคุกคามในมุมมองของ ดร.ธรณ์” [Online]. 2562. แหล่งที่มา : https://www.bbc.com/thai/thailand-49379631 [15 มีนาคม 2564]
ณัฐธริสสา ทรัพย์คงเจริญ (2557) ศึกษาเรื่อง การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานครในโครงการปฏิบัติการคืนพื้นผิวจราจรเพื่อประชาชนตาม นโยบาย 5 จริง ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร.
นันทินี พิศวิลัย (2558) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร และความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์ www.ginraidee.com ในเขตกรุงเทพมหานคร.คณะวารสารศาสตร์และการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
ประพล มิลินทจินดา. 2541. “ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมของสมาชิกองค์การบริหารส่วน ตำบลในจังหวัดเพชรบุร”. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุรพงษ์ โสธนะเสียร, 2550, การจัดการทางการสื่อสาร, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ.
อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ (2561) ศึกษาเรื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลท่าแค จังหวัดลพบุรี วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ : ปีที่ 5 ฉบับที่ 3.กันยายน-ธันวาคม 2563.
อุรารัศมิ์บุรณศิริ สันทัด ทองรินทร์ และ ศิริวรรณ อนันต์โท, 2557, การเปิดรับ และการตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการสื่อสารแจ้งข่าวเตือนภัยน้ำท่วม จังหวัดลพบุรี. วารสาร ฉบับที 2. มหาวิทลัยนครพนม. หน้า 53-59.
Atkin, Charles K. (1973). “Anticipated communication and mass media information seeking public opinion quarterly”. (p.208). New York: Free Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28