การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมใหม่ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ

ผู้แต่ง

  • วลีรัตน์ พะโยธร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความน่าจะเป็น, ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมใหม่  2) เพื่อหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย เรื่อง ความน่าจะเป็น  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์  จำนวน 600 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi – Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย วิเคราะห์ความเป็นมิติเดียวของแบบทดสอบ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม IRTPRO 5

            ผลการวิจัย พบว่า ได้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัย เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมใหม่  โดยเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยจำนวน 36 ข้อ มีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.52 ถึง 2.44 ค่าความยากอยู่ระหว่าง -0.39 ถึง 1.13 และค่าโอกาสการเดาถูก (c) อยู่ระหว่าง 0.09 ถึง 0.20 ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ7.00 และ ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบทดสอบมีค่าสูงสุดที่ 17.18

References

จีรนันท์ รัตนวิเศษ. (2558). การพัฒนาแบบทดสอบ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค31101 เรื่องจำนวนจริงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม:
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วาสนา ดวงใจ. (2558). การพัฒนาแบบทดสอบการคิดวิเคราะห์แบบพหุมิติสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัตยา นาอุดม. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุนันทา ศิริเบญจา. (2556). การพัฒนาแบบทดสอบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์โดยประมาณค่าความสามารถของผู้สอบด้วยวิธี ของเบส์ด้านสาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อุมาวรรณ แสงสนิท. (2558). การพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐานวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัด สำนักงานเขตพื้นทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Bloom, B.S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York : McGrawHill.
Zhang, J. (2012). “Calibration of Response Data Using MIRT Models With Simple and Mixed Structures,” Applied Psychological Measurement. 36(5) : 375-398.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28