thai การจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์แบบโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

-

ผู้แต่ง

  • วราวุฒิ อัมพุธ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แผนการจัดการเรียนรู้, โครงงานธุรกิจสร้างสรรค์, ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้นำเสนอวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1. เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การจัดเรียนรู้แบบโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 2. เพื่อศึกษาศึกษาทักษะการทำโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ด้านรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดประสบการณ์นิยม (Experimentalism) ของ จอห์น ดิวอี้ เป็นกรอบการวิจัย ด้านพื้นที่การวิจัยคือโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๙๙ (บ้านแม่สุยะ) จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 23 คน ในปีการศึกษาที่  2/2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาว จำนวน 7 แผน 20 ชั่วโมง โดยหาระดับคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยใช้สถิติขั้นพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Ó)

ผลการศึกษาระดับการประเมินความเหมาะสมของแผนจัดการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ แบบโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30  ดังนั้นผลการประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ จึงมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

ผลการศึกษาทักษะการทำโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30 มีทักษะการทำโครงงานอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นขั้นตอนพบว่า ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน (μ = 5.00) ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติ (μ = 4.86) และ ขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอ (μ = 4.86) ตามลำดับ

ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานธุรกิจสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก  มีค่าเฉลี่ย 4.93 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.30 เมื่อพิจารณารายข้อแล้ว พบว่ามีความเห็นอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยเรียงค่าเฉลี่ยสูงสุด ดังนี้ ครูมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต (μ = 5.00) 9. ครูสร้างบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น (μ = 5.00) นักเรียนได้สำรวจชุมชนเพื่อหาประเด็นในการทำโครงงาน (μ = 5.00)  กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานสามารถทำให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติงานด้วยตนเอง (μ = 5.00) นักเรียนสามารถนำความรู้ในการทำโครงงานไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ (μ = 5.00) นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาชาวบ้าน(μ = 5.00) นักเรียนเกิดทักษะและนำประสบการณ์ที่ได้จากการทำโครงงานไปประกอบอาชีพได้ (μ = 5.00) นักเรียนรู้สึกภาคภูมิใจในผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาชาวบ้านของตนเอง (μ = 5.00) นักเรียนเห็นคุณค่าในภูมิปัญญาชาวบ้านของชุมชนตัวเอง (μ = 5.00) นักเรียนสามารถสรุปโครงงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์การทำโครงงาน (μ = 5.00) นักเรียนสามารถนำเสนอโครงงานหน้าชั้นเรียนในรูปแบบที่นักเรียนคิดสร้างสรรค์เอง (μ = 5.00)  ตามลำดับ

References

บรรณานุกรม
กุศลาภรณ์ จันทร์ภิรมย์. 2547. การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง ผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เกียรติสุดา ศรีสุข. 2552. ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ครองช่าง.
เขมกร ดวงปูนันท์. 2557. การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง สิ่งประดิษฐ์จากกระดาษรีไซเคิลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คริสตมาส เตชะ. 2557. การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียนที่มีปัญหาในการเรียนรู้ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชัยรินทร์ ชัยวิสิทธิ์. 2545. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้นักเรียนและชุมชนด้วยโครงงานอาชีพ. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ตรีพร ชาติแสนปิง. 2547. การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการแสวงหารายได้ชุมชนเพิ่มเติม : กรณีศึกษาการผลิตน้ำดื่มบ่อปุ๊ ของกองทุนหมู่บ้านบ้านบ่อปุ๊องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นพรัตน์ สัจจะวิสัย. 2558. การจัดการความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมของเทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประทุม อังกูรโลหิต. 2528. ปรัชญาปฏิบัตินิยม: รากฐานปรัขญาการศึกษาของจอห์น ดิวอี้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. 2556. การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุพินธ์ บุญเทพ. 2556. การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2543. รายงานการเสวนาทางวิชาการ มิติใหม่ของการประเมินผล: การเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : มปพ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2553. แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการ เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28