การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าปักชาวเขาเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดสำหรับกลุ่มผ้าปักชาวเขา บ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • เพชรา บุดสีทา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก, ช่องทางจัดจำหน่าย, กลุ่มผ้าปักชาวเขา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าปักชาวเขาเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดสำหรับกลุ่มผ้าปักชาวเขาบ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา  จังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักชาวเขาชนเผ่าเมี่ยน 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าปักฯ 3)  เพื่อศึกษาผลที่เกิดกับชาวเขาบ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและ เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเก็บข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มผ้าปักชาวเขาบ้านคลองเตย จำนวน 25 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการปักผ้า  นักวิชาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ปักผ้า  นักวิชาการด้านการตลาด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบประเมินผลิตภัณฑ์ผ้าปัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า 1) หญิงชนเผ่าเมี่ยน ใช้เวลาว่างจากการทำการเกษตร จะทำการปักผ้าตามภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดมายังปัจจุบัน ปักผ้าใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ปักผ้าผืนเพื่อจัดจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชนเผ่า ปัญหาจากการจำหน่ายผ้าปักเป็นผืนผ้า ราคาค่อนข้างสูง ผู้ซื้อจะต้องนำผ้าผืนไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปอีกต่อหนึ่ง กลุ่มผ้าปักชาวเขาชนเผ่าเมี่ยนมีความต้องการพัฒนาผ้าปักที่ได้จากการทอเป็นผืนผ้า มาเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าปักของชนเผ่าเมี่ยนเพื่อจัดจำหน่าย 2)  ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าปักประกอบด้วย กระเป๋าสตางค์ ประเป๋าสะพาย กระเป๋ามะเฟือง กระเป๋าใส่พวงกุญแจ เสื้อคลุมผ้าปักและต่างหูผ้าปัก ผลการประเมินผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ผ้าปักชาวเขาบ้านคลองเตย ตำบลคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าปักได้ผ่านการผสมสีที่โดดเด่นน่าสนใจสามารถใช้สอยได้ตามวัตถุประสงค์ อีกทั้งมีรูปแบบผลิตภัณฑ์และลวดลายที่แสดงอัตลักษณ์ของชนเผ่าเมี่ยน และ 3) ชุมชนชาวเขาเผ่าเมี่ยน ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกผ้าปัก ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีช่องทางการจัดจำหน่าย ณ งานแสดงสินค้าทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจัดให้ชุมชนนำผลิตภัณฑ์ไปจัดจำหน่าย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). Tourism Thailand: Keep calm and Look forward to 2019. เข้าถึงได้จาก http://www.etatjournal. com/ web/component/tags/tag/wr-tat-research
กฤษดากร เชื่อมกลาง วัชระ วชิรภัทรกุล วีระ เนตราทิพย์ และปราโมทย์ ปิ่นสกุล (2559). การออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเซรามิกส์ เพื่อเป็นสินค้าสำหรับส่งเสริมศักยภาพด้านการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์. รมย.สาร 14 (ฉบับพิเศษ (พฤศจิกายน). 115-122
ฐิติพันธ์ จันทร์หอม. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอภูมิปัญญาของชาวไทยทรงดำในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 21 (ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559), 181-192
เพชรา บุดสีทา. (2560). การวิจัยตลาด. กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร . (2561). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ปัทมา สารสุข และคณะ. (2561). การพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
แสงอรุณ เชื้อวงษ์บุญ. (2561). พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของที่ระลึกประจำจังหวัดนครนายก : มะปรางริ้วประดิษฐ์จากสบู่. รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร. (2561). ชนเผ่าเมี่ยนกำแพงเพชร. เข้าถึงได้จากhttp://pr.prd. go.th/ kamphaengphet/main.php?filename=index. เรียกข้อมูลวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28