สภาพและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรม ในชุมชนเขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
คำสำคัญ:
พิธีกรรม, สภาพและปัจจัยการเปลี่ยนแปลง, เขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรม ผู้วิจัยใช้วิธีทางคติชนวิทยา โดยการลงพื้นที่เข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมในพิธีกรรมของชุมชนเขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ตลอดจนสัมภาษณ์วิทยากรเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลพิธีกรรมสำหรับนำมาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ช่วยในการวิเคราะห์ ได้ผลการวิจัย คือ โครงสร้างพิธีกรรมในเขตพื้นที่เมืองเก่า อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 6 กลุ่มพิธี มีสภาพ 2 สภาพ คือ 1.สภาพคงเดิม เพราะชาวบ้านต้องการรักษาธรรมเนียมปฏิบัติในพิธีกรรมอย่างเคร่งครัด และ 2.สภาพเปลี่ยนแปลง โดยมีปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่มาจาก 1) นโยบายจากภาครัฐ หรือนโยบายของผู้จัด 2)ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3)การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ 4) สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 ผลการวิจัยทำให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของพิธีกรรมในเมืองเก่าแพร่ที่เป็นไปตามปัจจัยของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต ตลอดจนได้พบตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจอันสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในรูปแบบการสร้างสรรค์พิธีกรรมของเมืองเก่าแพร่ต่อไป
References
คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (2543). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญา จังหวัดแพร่. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
เชิดชาย หิรัญโร. (2557). ภูมิปัญญาล้านนาในการประยุกต์คัมภีร์และพิธีกรรม"สืบ ส่ง ถอน" ที่เกี่ยวกับพิบัติภัยในปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิยพรรณ ผลวัฒนะ. (2539). มานุษยวิทยาว่าด้วยระบบครอบครัว การแต่งงานและเครือญาติ. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
ประเสริฐ รุนรา. (2557). พิธีสวดนพเคราะห์:พลวัตของพิธีกรรมประดิษฐ์ในสังคมไทยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
เปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2561). อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ในพิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อ จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
พุทธทาสภิกขุ. (2516). อิทัปปัจจยตา. กรุงเทพฯ: การพิมพ์พระนคร.
วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2557). การสืบทอดและการผลิตซ้ำความเชื่อ ตำนานและพิธีกรรมเกี่ยวกับพระอุปคุตในสังคมไทยปัจจุบัน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีนิพนธ์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ โรงเรียนนารีรัตน์. (2539). ประเพณีและพิธีกรรมพื้นบ้านเมืองแพร่. แพร่: เมืองแพร่การพิมพ์.
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่. (2559). งานเฉลิมฉลองเมืองแพร่ 1188 ปี. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 ตุลาคม 2562 จาก https://www.m-culture.go.th/phrae/ewt news.php?nid=393&filename=index
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ