พฤติกรรมการเรียนและปัจจัยความสำเร็จในการเรียนระบบออนไลน์บนแอปพลิเคชั่นไมโครซอฟต์ทีม ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเรียน, ปัจจัยความสำเร็จในการเรียน, การเรียนออนไลน์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียน ศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการเรียนระบบออนไลน์ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมที่ส่งผลต่อปัจจัยความสำเร็จในการเรียนระบบออนไลน์บนแอปพลิเคชันไมโครซอฟต์ทีมในช่วงสถาการณ์โควิด-19 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรได้แก่นักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษา และการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 392 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาดังกล่าว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 194 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนระบบออนไลน์บนแอปพลิเคชันไมโครซอฟต์ทีม ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาปัจจัยความสำเร็จการเรียนระบบออนไลน์บนแอปพลิเคชันไมโครซอฟต์ทีม ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ภาพรวมของความสำเร็จในการอยู่ในระดับมาก และ พฤติกรรมการเรียนออนไลน์ที่ส่งผลต่อปัจจัยความสำเร็จของการเรียนระบบออนไลน์บนแอปพลิเคชั่นไมโครซอฟต์ทีมในช่วงสถาการณ์ โควิด-19 สูงสุด 3 ด้านได้แก่การใช้เทคนิคอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเรียน กระบวนการสร้างและการใช้ความรู้ และเจตคติต่อการเรียน ซึ่งสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาได้ร้อยละ 35.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Bandura, Albert. (1986). Social foundations of thought and action: A social cog-nitive theory, New Jersey: Prentice-Hall. Bandura, Albert.
Hyseni, D. Z., & Hoxha, L. (2020). The impact of covid-19 on higher education: a study of interaction among students' mental health, attitudes toward online learning, study skills, and changes in students' life. Retrieved from September 29, 2020, from https://www.researchgate.net/ publication /341599684.
Pundita Intharksa. (2019). Learning Management with social media. Journal of Education, Naresuan University. 21(4): 357-365
Saraburin, K., Yamdee, S., & Chaipoo, N. (2016). Students’ Attitudes and Behaviors towards “Moodle Online Education Program: Case Study in Secondary School in Bangkok. The 7th National and International Academic Conference and Presentation of Research, 2016. (in Thai)
Songlak Sakulwichitsintu. (2017). Using Information Technology For Online Collaborative Learning. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2): 437-450
Wade M Vagias, editor. (2006). Likert-type scale response anchors. Clemson International Institute for Tourism & Research Development. Department of Parks.Recreation and Tourism Management: Clemson University.
Weinstein, C. E., Palmer, R. D., & Shchulte, A. C. (2002). Learning and Strategies Inventory (LASSI). 2nd Ed. Taxes: H&H Publishing Company.
ใจทิพย์ ณสงขลา. (2561). การออกแบบการเรียนอย่างดิจิทัล= Digital learning design. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐนน หงษ์ยนต์ วิชากร เฮงษฎีกุล และ กฤษณะ จันทร์เรือง. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการเรียนออนไลน์ตามความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการจัดการการบิน ในสถาบันแห่งหนึ่ง. วารสารวารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(1), 117-196.
ณิชกานต์ ทรงไทย วาราภรณ์ ยศทวี และปฐพร แสงเขียว. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 3(1), 198- 209.
ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์, ภัทรพล เสริมทรง, สุขชัย วงษ์จันทร์ และสุทิน เลิศสพุง. (2563) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชา ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์ โดยใช้ Microsoft Teams. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 20-31
นิตยา มณีวงศ์. 2564 ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์แอปพลิเคชั่นไลน์ ในช่วงวิกฤติ COVID- 19. วารสารครุศาสตร์สาร Journal of Educational Studies, 15(1), 161-173.
ปรัชญานันท์ นิลสุข. (2565, มีนาคม). การจัดการเรียนรู้ในยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัล. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ครั้งที่ 4, นครสวรรค์.
พร้อมภัค บึงบัว. (2564). ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ของครูระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน. วารสารสมาคมนักวิจัย Journal of the Association of Re-searchers, 26(3), 277-294.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 7(1), 13-27.
สำนักสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). “กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พลิกโฉมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน” (Transformation to Hi-Value and Sustainable Thailand). สืบค้น 22 มีนาคม 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ_ฉบับที่_13.pdf.
อรพิณ ศริสัมพันธ์. (2550). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรรถการ สัตยพาณิชย์. (2564). การสื่อสารเพื่อการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของอาจารย์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 6(1), 85-96.
อรวรรณ เกษสังข์. (2564) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดเลย. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(37), 241-248.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ