ผลของการนิเทศโดยวิธี Coaching ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา สำหรับนักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ a:1:{s:5:"th_TH";s:100:"คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน";}

คำสำคัญ:

การนิเทศโดยวิธี Coaching, การพัฒนาการนิเทศ, การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนิเทศโดยวิธี Coaching ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา  สำหรับนักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่ได้รับการโค้ช Coaching ที่มีต่อการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และแนวทางพัฒนาการนิเทศโดยวิธี Coaching ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา  กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน ประกอบด้วยอาจารย์นิเทศของหลักสูตร จำนวน 3 คน ผู้บริหารพี่เลี้ยงซึ่งเป็นผู้นิเทศของสถานศึกษา จำนวน 3 คน และนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติการวิชาชีพสำเร็จการศึกษา จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบการสัมภาษณ์ แบบประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการนิเทศโดยวิธี Coaching ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าความสอดคล้องทุกข้อ เท่ากับ 1.00 และการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยวิธีการของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา    

ผลการวิจัยพบว่า ผลของการนิเทศโดยวิธี Coaching ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา โดยภาพรวมอาจารย์นิเทศก์และผู้บริหารพี่เลี้ยงเห็นว่ามีผลสำเร็จตามผลลัพธ์การเรียนรู้ใน 5 ด้านได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับความคิดเห็นของนักศึกษาสามารถพัฒนาด้านการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ด้านความรู้และประสบการณ์ และด้านการปฏิบัติตน ตามลำดับ และผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศโดยวิธี Coaching คือ ควรมีการเสริมประสบการณ์โดยการสอนแนะจากผู้บริหารมืออาชีพ เพราะเป็นศิลปะทางการบริหารที่จำเป็น แนวทางการพัฒนาการนิเทศโดยวิธี Coaching ได้แก่ 1. ควรกำหนดเป้าหมาย (Goal setting) ต่อผู้รับการโค้ชรายบุคคล เน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านการรู้คิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมมาใช้ในการปฏิบัติงาน ทักษะกระบวนการบริหาร และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2. ควรตรวจสอบสภาพจริง (Reality checking) ของผู้รับการโค้ชว่าจำเป็นต้องพัฒนาในประเด็นใดบ้าง 3. ควรกำหนดเทคนิควิธีการโค้ชบนพื้นฐานของสภาพจริง และการตอบสนองต่อเป้าหมายของการโค้ช  4. ควรกำหนดแนวทางสู่ความสำเร็จ และ 5. ควรประเมินผลเพื่อปรับปรุงพัฒนาด้วยการประเมินตามสภาพจริงรายบุคคล ข้อเสนอแนะควรนำผลการศึกษาและแนวทางการพัฒนาการนิเทศโดยวิธี Coaching ไปใช้ในการนิเทศนักศึกษาฝึกปฏิบัติการวิชาชีพต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ, (2558), เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558, สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก http://www.mua.go.th/users/bhes/index.htm

กรรณิกา กันทำ และพระครูธรรมาภิสมัย. (2561). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,12 (2), 201-210.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562, ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136, ตอนพิเศษ 68, หน้า 18-20.

จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์. (2559). ผลการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิธีของ ครูพณิชยกรรม ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะ และประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 130, ตอนพิเศษ 156 ง หน้า 43-54.

มาลัย วงศ์ฤทัยวัฒนา. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กยุคดิจิทัลสู่ความเป็นเลิศ ของสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 22-30.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

วิมล จันทร์แก้ว, (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีระชัย จิวะชาติ. (2560). แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาแนวใหม่. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/17754

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. (2564). สรุปการสัมมนาการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ. คณสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สุรยุทธ กอบกิจพานิชผล. (2560). การโค้ช (Coaching) และระบบพี่เลี้ยง (Mentoring) ในภาครัฐ. สืบค้น 20 มีนาคม 2565 จาก wiki.ocsc.go.th

สุเมธ แย้มนุ่น. (2562). การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.google.com/search.

สมาภรณ์ มณีอ่อน. (2560). การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เทคนิคการโค้ช. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15 (2), 61-73

สมปอง ชาสิงห์แก้ว, (2560), ประสิทธิผลการพัฒนานิสิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย , การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 และนานาชาติครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

อิระชา นกขุนทอง และปฤษณา ชนะวรรษ. (2562). การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดใช้ระบบการโค้ชและการให้คำปรึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดช้างเล็ก อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6 (1), 1-8.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report, Washington DC: School of Education and Human Development, George Washington University.

Bouchaud, B., Brown, D., & Swan, B. A. (2017). Creating a New Education Paradigm to Prepare Nurses for the 21st Century. Journal of Nursing Education and Practice, 7(10), 27-35.

Costa, A.L., and Garmston, R. J. (2002). Cognitive Coaching: A Foundation for Renaissance School, Norwood, MA: Christopher Gordon.

Keefe, J.W., and Jenkins, J.M. (2000). Personalized Instruction: Changing Classroom Practice. Larchmont, New York: Eye on Education.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom.San Francisco, CA: Jossey-Bass Inc.

R.M. Felder & R. Brent. (1996). Teaching and Learning STEM: A Practical Guide, Ch. 6. SanFrancisco: Jossey-Bass.

Passmore, Jonathan. (2016). Excellence in Coaching: The Industry Guide (3rd ed.). London; Philadelphia: Kogan Page.

Twin, Alexandra. (2020). Practice Management. Investopedia, Retrieved 20 March 2022, from https://www.investopedia.com/

Welskop, W. (2014). ACTION LEARNING IN EDUCATION. Retrieved 4 August 2019, from https://www. researchgate.net/publication /25997121631.

Zepeda, Sally J. (2008). Professional Development What Work. Larchmont, New York: Eye on Education.

เผยแพร่แล้ว

2022-11-15