ผลกระทบ การเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและปัจจัย ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ในจังหวัดเชียงรายในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีสารสนเทศ, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์, โควิด-19บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงปริมาณการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในจังหวัดเชียงราย ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รวมถึงศึกษาปัจจัยทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การดำเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ในจังหวัดเชียงรายในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยการใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ประกอบการลิจิสติกส์จำนวน 10 รายร่วมกับเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนให้บริการในจังหวัดเชียงรายทั้งหมด จำนวน 89 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาร่วมกับสถิติเชิงอ้างอิงด้วยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมด้านการขนส่ง คลังสินค้า การดำเนินงานระหว่างธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงของความต้องการของลูกค้า รวมถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลของกิจการ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในจังหวัดเชียงรายมีการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินธุรกิจอยู่ในระดับเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงานก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดผลลัพธ์การดำเนินงานในภาพรวมเกิดขึ้นในระดับมาก ทั้งในด้านความคล่องตัว ด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว และด้านความยืดหยุ่นและการฟื้นฟู สำหรับการปรับตัวในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การดำเนินงานของ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในจังหวัดเชียงราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าความสัมพันธ์ของเพียร์สัน เท่ากับ .756 การปรับตัวในการประยุกต์ใช้โปรแกรมเชิงวิเคราะห์ในธุรกิจสามารถทำนายผลลัพธ์การดำเนินงานของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในจังหวัดเชียงรายได้ร้อยละ 57.10 มีค่าอำนาจการทำนาย (R2) เท่ากับ 0.571
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). ฐานข้อมูลธุรกิจ. สืบค้น 25 ตุลาคม 2564, จาก https://www.dbd.go.th/.
กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2563). Best Practices & Lessons. สืบค้น 22 ตุลาคม 2564, จาก https://bit.ly/ 3DhxS5s.
จรินทร์ อาสาทรงธรรม (2554). "เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ยุคใหม่” สืบค้น 14 ธันวาคม 2562, จาก https://bit.ly/3Djqc2p .
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). ค้าชายแดน-ผ่านปี 62 ติดลบ 3.43%. สืบค้น 25 ธันวาคม 2564, จาก https://www.thansettakij.com/content/420053
ณัฐพนธ์ เกษสาคร . (2560). สารสนเทศเพื่อการการจัดการโลจิสติกส์ บทที่ 1. สืบค้น 25 มิถุนายน 2560, จาก https://bit.ly/3Tnbihb.
บัณฑิต ศรีสวัสดิ์. (2560). เทคโนโลยีสารสนเทศกับโลจิสติกส์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (1337-1348)
พรพินันท์ ยี่รงค์ (2563). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจเชียงราย. สืบค้น 5 ธันวาคม 2564, จาก https://bit.ly/3hRp9z6
ไพฑูรย์ กำลังดี (ม.ป.ป.). โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. สืบค้น 25 มิถุนายน 2560, จาก https://bit.ly/3TEss9Q
สกาวรัตน์ โบไธสง. (2560). ระบบสารสนเทศ. สืบค้น 25 มิถุนายน 2560, จาก https://bit.ly/3VR1VIa.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2552). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา
สืบศิริ บำรุงชาติอุดม. (2558) ความสัมพันธ์ของความยืดหยุ่นทางโลจิสติกส์กับผลการดําเนินงานทางการเงินขององค์กรในอุตสาหกรรมยาในประเทศไทย. สืบค้น 22 ตุลาคม 2564, จาก https://bit.ly/3z6ZZBJ
Davide Golinelli, Erik Boetto, Gherardo Carullo, Andrea Giovanni Nuzzolese, Maria Paola Landini, Maria Pia Fantini (2020). Adoption of Digital Technologies in Health Care During the COVID-19 Pandemic: Systematic Review of Early Scientific Literature. Journal of Medical Internet Research. 22(11).
Duclos, Vokurka, and Lummus (2003). Supply chain flexibility: Building a new model. Retrieved 22 October 2022, from https://bit.ly/3SmZR7R
Fisher, Colin M., and Teresa M. Amabile. (2009). “Creativity, improvisation and organizations.” The Routledge Companion to Creativity, 13-24.
Hinkle, D.E, William ,W. and Stephen G. J., (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York : Houghton Mifflin.
Hobbs, J.E. (2020) Food supply chains during the COVID-19 pandemic, Canadian Journal of Agricultural Economics. Online: https://doi.org/10.1111/cjag.12237
Hohenstein, N-O., Feisel, E., Hartmann, E., Giunipero, L., (2015). Research on the phenomenon of supply chain resilience A systematic review and paths for further investigation, International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, 45(1/2), 90-117.
International Monetary Fund (2020). World Economic Outlook: The Great Lockdown, April 2020. Retrieved 22 October 2022, From https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2020/04/14/weo-april-2020.
Supply Chain Council. (2012). Supply Chain Operations Reference Model Revision 11.0. Retrieved 22 October 2022, Online; https://bit.ly/3F2rBf6
World Health Organization (WHO). (2020). Situation report. Retrieved 18 February 2020, Online: https://bit.ly/3VPcYBH.
Zhang, J., & Wang, X. (2022). The impact of information technology on supply chain performance: A meta-analysis. International Journal of Information Management, 59, 63-75.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ