การเปิดรับข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประสบการณ์ทางการเมือง ทัศนคติต่อการเมือง และความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่ม Gen Z จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • เสริมศิริ นิลดำ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กรกนก นิลดำ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กิติวัฒน์ มีแก้ว นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (ดิจิทัลมัลติมีเดีย) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กฤษฎา ยอดเมฆาวงศ์ นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (ดิจิทัลมัลติมีเดีย) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พงศธร ใจมูลมั่ง นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (ดิจิทัลมัลติมีเดีย) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสาร, ประสบการณ์ทางการเมือง, ทัศนคติต่อการเมือง, ความตื่นตัวทางการเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ประสบการณ์ทางการเมือง ทัศนคติต่อการเมือง และความตื่นตัวทางการเมืองของกลุ่ม Gen Z จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่ม Gen Z ที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปี ที่อาศัยในจังหวัดเชียงราย และเคยมีประสบการณ์เปิดรับข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิงด้วยการหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance หรือ ANOVA) รวมทั้งใช้การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)

ผลการศึกษาพบว่า การเปิดรับข่าวเกี่ยวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ พบว่า กลุ่ม Gen Z ในจังหวัดเชียงรายที่มีการศึกษาและอาชีพแตกต่างกันมีการเปิดรับข่าวเกี่ยวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ด้านประสบการณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองและทัศนคติต่อการเมืองพบว่า กลุ่ม Gen Z ในจังหวัดเชียงรายที่มีการศึกษาแตกต่างกันจะมีประสบการณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองและทัศนคติต่อการเมืองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านความตื่นตัวทางการเมืองพบว่า ลักษณะประชากรที่แตกต่างกันของกลุ่ม Gen Z ในจังหวัดเชียงรายกับความตื่นตัวทางการเมืองพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า การเปิดรับข่าวสารทางการเมืองจากสื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกมีนัยสำคัญทางสถิติกับทัศนคติต่อการเมืองโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เท่ากับ 0.720 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกมีนัยสำคัญทางสถิติกับความตื่นตัวทางการเมืองโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์เท่ากับ 0.791

References

กัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์. (2563). การตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 11(1), 91-103.

ชัยวัฒน์ โยธี , วฤณดา วงศ์โรจน์, ปริยาภรณ์ มัฎฐารักษ์ และศศิธร เต็มแก้ว. (2565). ความคิดทางการเมืองของคนรุ่นใหม่ (Gen - Z) กับการใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่น: ศึกษากรณีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 6(1), 179-190.

ธนัชพร ปานแย้ม. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง. ของ Generation Z ผ่านสื่อสังคมออนไลน์. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2565). โพลชี้คนรุ่นใหม่ 63% อยากให้ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากมหาดไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_3608964

บีบีซี. (2560). เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.: ประวัติศาสตร์ สถิติ และเกร็ดน่ารู้. สืบค้น 20 ตุลาคม 2565 จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-60951332

ประชาไทย. (2560). ธำรงศักดิ์' เปิดโพล Gen Z 63% ต้องการยกเลิกผู้ว่าฯ แต่งตั้ง ชี้มาจากเลือกตั้งกระตือรือร้นกว่า. สืบค้น 20 ตุลาคม 2565 จาก https://prachatai.com/journal/2022/10/100837

พสิษฐ์ ไชยวัฒน์ และสติธร ธนานิธิโชติ. (2561). คนรุ่นใหม่ประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่าน.ประชาชน-ความหวังหรือความฝัน. สืบค้น 10 ตุลาคม 2560, จาก https://prachatai.com/journal

ยงยุทธ พงศ์ศรี. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด ปทุมธานี : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ.2562 (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

วัฒนา เซ่งไพเราะ. (2555). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในสถาบันการศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครกับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยช่วงปี พ.ศ.2549-2554. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

De Veirman, M., Cauberghe, V. and Hudders, L. (2016). Marketing through Instagram influencers: impact of number of followers and product divergence on brand attitude. International Journal of Advertising. 36(5), 798-828.

Schermerhorn, J.R. (2012). Organizational behavior. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Shiffman, L. G., and Kanuk, L. L. (2004). Consumer behavior. New Jersey: Pearson.

เผยแพร่แล้ว

2023-04-15