การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัตถากาแฟ สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
หลักสูตรฝึกอบรม, หัตถากาแฟ, ความสามารถในการทำกาแฟบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างและหาคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมหัตถากาแฟ สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา 2. ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้หลักสูตรที่สร้างขึ้น ดังนี้ 2.1 เปรียบเทียบความสามารถในการทำกาแฟภายหลังการฝึกอบรมกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2.2 ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม กลุ่มประชากร ได้แก่ นิสิตนักศึกษาในระดับสถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 36,947 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่ลงทะเบียนภาคเรียนที่ 1/2565 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีการจับฉลาก โดยใช้มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยสุ่ม จากนั้นประกาศรับสมัครนักศึกษาที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 13 คน โดยกำหนดคุณสมบัติในการเข้าร่วมการฝึกอบรมคือ ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำกาแฟแบบทำมือมาก่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมหัตถากาแฟ สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา แผนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 3 แผน แบบประเมินความสามารถในการทำกาแฟ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมฯ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test one sample
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมฯ มีองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการและเหตุผล หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระ กิจกรรมการฝึกอบรมสื่อประกอบการฝึกอบรม/แหล่งเรียนรู้ และการประเมินหลักสูตร ซึ่งเนื้อหาสาระประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกาแฟ หน่วยที่ 2 การจัดการกาแฟ หน่วยที่ 3 การทำกาแฟแบบทำมือ โดยหลักสูตรฝึกอบรม และแผนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมหัตถากาแฟฯ พบว่า 2.1 ความสามารถในการทำกาแฟของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 108 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 85.04 และเมื่อเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่า ความสามารถในการทำกาแฟของนักศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2.2 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมหัตถากาแฟสำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา พบว่า ในภาพรวมมีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (2565). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พ.ศ. 2565 – 2569). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม: พิษณุโลก.
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กระทรวง. (2564). อว. เดินหน้าโครงการ "อว. ลดค่าเทอม" ตามนโยบายรัฐบาล. สืบค้น 29 กันยายน 2564, จาก: https://www.mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/news-all/executive-ps-news/4327-2021-08-30-05-34-05.html.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา, สำนักงาน. (2559). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.
มติชนออนไลน์. (2562). ปรากฏการณ์บัณฑิตเตะฝุ่น บทสะท้อนปัญหาที่รอการแก้ไข. สืบค้น 28 กันยายน 2564, จากhttps://www.matichon.co.th/columnists/news_1773244.
คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. (2560). รายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง “แผนการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา”(ฉบับปรับปรุง). สืบค้น 28 กันยายน 2564, จาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/drive_education/ewt_dl_link.php?nid=245&filename=index.
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานนโยบายการเงิน 2563. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
ศศิกร เสือแก้ว. (2562). รายงานการวิเคราะห์ เรื่อง การทำงานพิเศษของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2561. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2559). บริหารคนตำรับสตาร์บัคส์. สืบค้น 21 พฤศจิกายน 2564, จาก: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/112368.
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2564). มาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาแก่ประชาชน. สืบค้น 29 กันยายน 2564, จาก: https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2564/P_404183_8.pdf.
สิราวิชญ์ วราโชติชนกานต์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น สำหรับผู้ประกอบการอาหารปรุงสำเร็จเพื่อสุขภาพ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 15(2), 174-183.
อังคณา เรืองชัย. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การทำน้ำสมุนไพร เพื่อเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
BLACK CANYON. (h.d.). FRANCHISING. Retrieved: 21 November 2564, from https://www.blackcanyonthai.com/franchising.aspx.
Boncafe. (h.d.). เรียนชงกาแฟ ฟรี! สำหรับผู้สนใจเปิดร้านกาแฟ โดยศูนย์ฝึกอบรมเทคนิคบอนกาแฟ อะคาเดมี่. Retrieved: 21 November 2021, from https://www.boncafe.co.th/th/อบรมทำกาแฟ-2/เวิร์ค ช็อปฟรี/
Café Amazon. (h.d.). ศูนย์ฝึกอบรมบาริสต้า. Retrieved: 21 November 2021, from https://www.cafe-amazon.com/training.aspx?Lang=TH&PageID=14.
Ornstein, A.C. and Lasley, T.J. (2000). strategies for Teaching. (3rd ed). New York: McGraw- Hill Companies.
Prehanto, Adi and Haryono, Haryono and Raharjo, Tri Joko. (2021). A Curriculum Development of Coffee Barista Education. Retrieved 2 November 2022, from https://eudl.eu/pdf/10.4108/eai.30-11-2020.2303690.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace Jovanovic.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ