การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตมัลติมีเดียของนักศึกษา โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • พิชยา พรมาลี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • นารีรัตน์ สุวรรณวารี

คำสำคัญ:

ความสามารถ, นวัตกรรม, มัลติมีเดีย, กการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติโดยการใช้วงจร PAOR นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตมัลติมีเดียของนักศึกษาโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ก่อนและหลังเรียนและฝึกปฏิบัติผลิตนวัตกรรมมัลติมีเดีย และประเมินผลงานนวัตกรรมมัลติมีเดียของนักศึกษา กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  จำนวน 50 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม 3 ด้าน คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกับบุคคลอื่นอย่างสร้างสรรค์ และการสร้างนวัตกรรมให้เกิดผลสำเร็จ และ แบบประเมินผลงานนวัตกรรมมัลติมีเดียจากสื่อ 3 ประเภท คือ วิดีโอเพื่อการศึกษา ชุดการเรียน และโปรแกรมนำเสนอบทเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที 

ผลการวิจัยพบว่าความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตมัลติมีเดียของนักศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและการฝึกปฏิบัติผลิตนวัตกรรมมัลติมีเดีย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  การประเมินผลงานนวัตกรรมมัลติมีเดีย 3 ประเภท จำนวน 11 ชุด พบว่า ในภาพรวมและรายประเภทอยู่ในระดับมาก

References

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภาภรณ์ เพียงดวงใจ. (2558). พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคการทำโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 11(2), 8-23.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์. สืบค้น 2 ตุลาคม 2562, จาก https://www.kruchiangrai.net/wpcontent/uploads/2015/05/learn_c21.pdf

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรม. สืบค้น 2 ตุลาคม 2562, จาก http://www.curriculum andlearning.com.

อนัน วาโชะ. (2561). Graphic Design for Advertising & Printing. นนทบุรี: ไอซีดีฯ.

อารี พันธ์มณี. (2545). คิดอย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี่.

อิศเรศ ภาชนะกาญจน์. (2562). เล่าเรื่องให้ง่ายด้วย INFO GRAPHIC. นนทบุรี: ไอซีดีฯ.

Bellanca, James and Brandt, Ron. (2011). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bloomington, IN: Solution Tree.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press.

Nizwardi Jalinus, Rahmat Azis Nabawi and Aznil Mardin (2017). The Seven Steps of Project Based Learning Model to Enhance Productive Competences of Vocational Students. Retrieved 7 October 2019, from https://www.atlantis-press.com/proceedings/ ictvt-17/25884523.

Stephanie Bell. (2010). Project-Based Learning for the 21st Century: Skills for the Future. Retrieved 5 October 2019, from https://www.jstor.org/stable/20697896.

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30