ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • สมพร หลิมเจริญ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
  • รณชัย ศรีธัญญาวงศ์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
  • รัชกร ประสีระเตสัง วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET), กลุ่มสาระการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยและผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้(ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาปัจจัยที่ส่งต่อผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  ซึ่งแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น (r) เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสหสัมพันธ์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยด้านประสบการณ์การสอนของครู ด้านพฤติกรรมการสอนของครู ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านพฤติกรรมการมุ่งมั่นใฝ่สัมฤทธิ์ของครู มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET)  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01นอกนั้นไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  และปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้แก่ ปัจจัยด้านประสบการณ์การสอนของครู (X21) ด้านพฤติกรรมการสอนของครู (X22) ด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน (X31) และด้านพฤติกรรมการมุ่งมั่นใฝ่สัมฤทธิ์ของครู (X23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.01โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 27.90 และมีสมการถดถอยรูปคะแนนดิบและรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

Y = 0.213 + 0.076 (X21) +2.895 (X22) +1.587(X23) +2.098 (X31)

Z = 0.183 (X21) + 0.273 (X22) +0.148(X23) +0.213(X31)            

References

กชพร ใจอดทน และอรณิชชา ทศตา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาวิทยาลัยนครราชสีมา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 27(2), 29-41

กนกภรณ์ เทสินทโชติ (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กิตติศักดิ์ เขื่อนวงศ์ และคณะ (2564). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษา. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(4), 53-64.

ชนิดา ยอดสาลี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.

ชลดา ชลสวัสดิ์. (2555) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา, 12(1), 49-50.

ชวิศา พรหมขวัญ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการนิเทศภายในกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(2), 119-126.

ญาณิศา อัศวทรงพล, ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ และคณะ. (2559) ตัวแปรที่ส่งผลต่อคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), 130-137.

เนตรชนก วงศ์สุเทพ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนศิลป์ (ภาษาจีน) ในโรงเรียนสังกัดสำงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุศรา เต็มลักษมี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(3), 26-36.

ภควัต เทศนธรรม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่าง สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ยืนยง ราชวงษ์ (2565). ปัจจัย 5 กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน, 2564, จาก https:// www.gotoknow.org/posts/364514

วราภรณ์ ลวงสวาส และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 . (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2561). การเรียนการสอนและการใช้ภาษาอังกฤษในยุคไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2564, จาก https://www.wu.ac.th/th/news/14259.

สมศักดิ์ วันโย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน, 2565, จาก https://www.niets.or.th/th/catalog/view/3121.

อุมาพร สันตจิตร. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

EF English Proficiency Index. (2022). The world's largest ranking of countries and regions by English skills. Retrieved 18 September 2021, From https://www.ef.co.th/epi/.

Yamane (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publication.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30