ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
คำสำคัญ:
Learning Management, Research-Based Learning, Learning and Innovation Skills in the 21st Centuryบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจของนักศึกษา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนกลุ่มเดียว ทดสอบ หลังเรียน ประชากร ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ที่ลงทะเบียน วิชา GTP518 การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 178 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษากลุ่ม 6 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1.แผนการจัดการเรียนรู้ฯ 2. แบบสอบถามทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 และ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.24, S.D.=.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา มีระดับทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.41, S.D.=.49) รองลงมาด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมอยู่ มีระดับทักษะอยู่ในระดับมาก (=4.20, S.D.=.47) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม มีระดับทักษะอยู่ในระดับมาก (=4.15, S.D.=.57) 2. นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.10, S.D.= 0.52)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กัลยา สร้อยสิงห์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(2), 486-501.
จุฑาทิพย์ อิทธิชินพัฒน์. (2559). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการ ฉบับพิเศษ ประจำปี 2559, 285-304.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงภพ ขุนมธุรส. (2564). ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้วิจัยเป็นฐาน ในรายวิชาทฤษฎีวรรณคดีกับการสอนวรรณกรรมไทย. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 16(2).
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรังปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี. พริ้น (1991) จำกัด.
พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน Research-Based Learning. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2) 62-71.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2545). การสอนแบบ Research-Based Learning: การเรียนการสอนแบบวิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2561- 2580). สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา.
Baldwin,G. (2005). The teaching research nexus: How research informs and enhances Learning and Teaching in the University of Melbourne. Retrieved 30 July 2016. from http://www.oshe unimelb.edu.au.
Lateh, A. (2017). The effect of research-based learning on the achievement in statistics course and research skills of undergraduate student. Research Methodology & Cognitive Science, 15(2), 120-132.
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skill: Learning for Life in our Times, San Fransisco, CA: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ