การพัฒนาชุดฝึกอบรมสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่ม ของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ ผลประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • กนิษฐา ศรีภิรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
  • วรางคณา จันทร์คง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ชุดฝึกอบรม, สมรรถนะการบริหารจัดการ, ชมรมผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพชุดฝึกอบรมสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่มของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่มของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง  โดยการสร้างชุดฝึกอบรมจากการสังเคราะห์แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และเนื้อหาชุดฝึกอบรมสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่มตามผลการศึกษาสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่มที่จำเป็นสำหรับคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ โดยการทดลองและการประเมินประสิทธิผลการใช้ชุดฝึกอบรม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือกรรมการชมรมผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเลือกแบบเจาะจงโดยเป็นกรรมการชมรมผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชรที่เต็มใจเข้าร่วมโครงการวิจัยและสามารถเข้าร่วมอบรมตามชุดฝึกอบรมได้ตลอดระยะเวลาที่กำหนดจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินประสิทธิผลชุดฝึกอบรม และแบบประเมินความพึงพอใจในการเข้ารับการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลสร้างและตรวจสอบคุณภาพชุดฝึกอบรมสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่ม พบว่าชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีเนื้อหา 4 หน่วยเรียนรู้ ได้แก่ การจัดองค์การและภาวะผู้นำ การจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ แหล่งงบประมาณและการเขียนโครงการ  และการติดตามผลการดำเนินงานและการตรวจสอบ โดยใช้การอบรม 2 วัน ผลการตรวจสอบคุณภาพชุดฝึกอบรมพบว่าในภาพรวมความเหมาะสมของเนื้อหาชุดฝึกอบรมในแต่ละหน่วยเรียนรู้อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากในทุกหน่วยการเรียนรู้ และค่าดัชนีความสอดคล้องของร่างชุดฝึกอบรมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องในทุกประเด็น ประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมจากการทดลอง พบว่าหลังการอบรมมีคะแนนสูงกว่าคะแนนก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.01 ความพึงพอใจที่มีต่อการเข้ารับการฝึกอบรมพบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนรายด้านมีความพึงพอใจในระดับมาก และมากที่สุด

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สรุปจำนวนชมรมผู้สูงอายุ ปี 2564 (สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ). สืบค้น 21 เมษายน 2565, จาก https://www.dop.go.th/th/implementaion/5/14/1423.

______________. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ :อมรินทร์.

กิตติ์ธเนศ สว่างวรนาถ และชมสุภัค ครุฑกะ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทักษะทางปัญญาของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 207-215.

เกษมศรี สุรวิทย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการองค์กรของชมรมผู้สูงอายุ ตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8 (ฉบับพิเศษ), 435-448.

เกศรา โชคนำชัยสิริ, ชญานิษฐ์ สมเจริญ และอัจฉรา โพชะโน. (2563). ทักษะการจัดฝึกอบรม. สืบค้น 20 มกราคม 2564, จาก https://mwi.anamai.moph.go.th/th/workgroups-knowledge/.

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: เทพเพ็ญวานิสย์.

จันจิราภรณ์ ปานยินดี. (2564). ผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ต่อพฤติกรรมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสําเร็จ. วารสารวิทยาการจัดการ, 8(2). 64-80.

ธิดารัตน์ กุลณัฐรวงศ์ และมหาชาติ อินทโชติ. (2565). การพัฒนาระบบฝึกอบรมแบบปรับเหมาะบนเว็บเพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางเทคโนโลยีของผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(1), 56-69.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 375-396.

ปาจรีย์ ผลประเสริฐ, วรางคณา จันทร์คง, รัชนีวรรณ บุญอนนท์, ปรียานุช พรหมภาษิต, กนิษฐา ศรีภิรมย์, และ พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการกลุ่มของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุจังหวัดกำแพงเพชร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(4), 56-77.

มิ่งขวัญ คงเจริญ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโรงเรียนผู้สูงอายุ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(2), 190-206.

วรรณลักษณ์ เมียนเกิด, เดชา สังขวรรณและรุ่งนภา เทพภาพกล. (2562). กลไกการขับเคลื่อนชมรมผู้สูงอายุในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 27(1), 1-31.

วิกรม รุจยากรกุล, ปิยธิดา ตรีเดช, สุคนธา ศิริและชาญวิทย์ ตรีเดช. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุคุณภาพจังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35 (2), 118-128.

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 57-69.

อภิญญา พันธุพล, นิรัตน อิมามี และวรากร เกรียงไกรศักดา. (2560). ผลการฝึกอบรมโดยใช้กระบวนการกลุ่มและเทคนิคเอไอซี (AIC) ในการส่งเสริมการจัดการชมรมผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. วารสารสุขศึกษา, 40 (1), 82-93.

United Nations. (2019). Ageing. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2565, จากhttps://www.un.org/en/global-issues/ageing.

เผยแพร่แล้ว

2023-11-30