กระบวนการสื่อสารดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาอาหารสุขภาพของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • อุทิศ บำรุงชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พักตร์วิภา โพธิ์ศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มงคล ยังทนุรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

กระบวนการสื่อสารดิจิทัล, การเรียนรู้, กระบวนการสืบสาน, ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพของผู้สูงอายุ และศึกษากระบวนการสืบสานภูมิปัญญาอาหารสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักจากเกณฑ์ในการพิจารณา และใช้การเลือกแบบเจาะจงจากคุณสมบัติ ผลงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง และผู้สูงอายุที่มีความโดดเด่นทางภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ 5 ภูมิภาค รวมจำนวน 16 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มในลักษณะคำถามปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และการตีความ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการสื่อสารดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาอาหารสุขภาพของผู้สูงอายุ แบ่งเป็น 6 วิธีการ ได้แก่ 1. ดาวน์โหลดรูปภาพหรือคลิปเก็บไว้ในสมาร์ตโฟน  2. บันทึกเป็นข้อความเสียงพูดส่งต่อทางไลน์แอปพลิเคชัน  3. บันทึกคลิปวิดีโอ ภาพนิ่งให้คนใกล้ชิดเก็บไว้ 4.ถ่ายคลิปแบ่งปันผ่านรีล ติ๊กต๊อก หรือไลฟ์สด โพสต์ลงเฟชบุ๊ค  5. ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอสั้นบันทึกไว้ในโทรศัพท์เพื่อส่งต่อ และ   6. เล่าเรื่องด้วยบทกลอน เสียงเพลงผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และกระบวนการสืบสานภูมิปัญญาอาหารสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. สืบสานผ่านกิจกรรมตามบริบทภาษาถิ่น 2. สืบสานบนวิถีของรงจูงใจสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ 3. สืบสานผ่านวัฒนธรรมเทศกาลขนบประเพณี และ 4. สืบสานบนพื้นฐานการดำรงชีพ

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2563). เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้สำหรับการวิจัยทางการศึกษาในการเปลี่ยนผ่านทาดิจิทัล. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

จิรภัทร์ บัวอิ่น. (2551). เปิดโลกเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ: สถาบันต้นกล้า.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และสิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33(2), 152-167.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2566). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์.

ณัฐกร สงคราม และเนาวนิตย์ สงคราม. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และการนำเสนอ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วริฏฐา แก้วเกตุ. (2566). Soft Power นโยบายหนุนพื้นที่ขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) บนฐานทุนทางวัฒนธรรม สร้างอาชีพ รายได้ของชุมชน. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://www.eef.or.th/article-soft-power-learning-city-111023/

ศรีไพร โชติจิรวัฒนา. (2562). การพัฒนารูปแบบการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการรู้สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในศูนย์การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2564ก). นิทัศน์แนวคิดและแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2564 (ไตรมาส 4). สืบค้น 20 มกราคม 2566, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2564/fullreport_ict_q4_64.pdf.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่18).กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2558). “แนวคิดและทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา” ใน เอกสารการสอน ชุดวิชา การสื่อสารกับการพัฒนา หน่วยที่ 1-8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พนม คลี่ฉายา. (2563). การใชเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุ และข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย, รายงานวิจัย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

_____________. (2565). ยังโอลด์ (Young-old) ไทยในวิถีดิจิทัล. หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านความรอบรู้ทางด้านดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ (DIRU). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทิศ บำรุงชีพ และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบศูนย์วิจัยนวัตกรรมและฝึกอบรมเพื่อสืบสานภูมิปัญญาผู้สูงอายุสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2562). แนวคิดการส่งเสริมการตลอดชีวิตในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์. (2565). ความรอบรู้เรื่องสื่อและสารสนเทศจากแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Berlo, D. K. (1960). The Process of Communication: An Introduction to Theory and Practice. NewYork: Holt, Rinehart and Winston.

Borka Jerman Blazic, Andrej Jerman-Blazic. (2020). Overcoming the digital divide with a modern approach to learning digital skills for the elderly adults. Educ. Inf. Technol. 25(1), 259-279.

Dale, E. (1969). Audiovisual methods in teaching (3rd ed.). New York: Dryden Press.

Nastasi, B. K. and Schensul, S. L. (2005). “Contributions of qualitative research to the validity of intervention research”, Journal of School Psychology. 43(3), 177-195.

Rowley, J. (2007). The wisdom hierarchy: representations of the DIKW hierarchy. Journal of Information Science, 33, 163-180. doi:10.1177/0165551506070706

Sigman, S. J. (1987). A perspective on social communication. Lexington, MA: Lexington Books.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20