“มาตาลดา” กับทัศนคติและการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ ของกลุ่มผู้ชม Gen Z

ผู้แต่ง

  • เสริมศิริ นิลดำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • กรกนก นิลดำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ชนะภัย สั่งแก้ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดนุนัย จีนน้ำใส คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พิมพ์ชนก ไชยนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ภัทรดนัย บุญศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • วรนุช ลิสุวรรณ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ความหลากหลายทางเพศ, ทัศนคติ, การยอมรับ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ ของกลุ่มผู้ชม GEN Z ที่ได้รับชมละคร “มาตาลดา” เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ ผู้ชมละครโทรทัศน์ “มาตาลดา” ที่เป็นกลุ่ม Gen Z จำนวน 413 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)

ผลการศึกษาด้านทัศนคติและการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับชมละคร “มาตาลดา” โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ส่วนผลการทดสอบระดับความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับชมละคร “มาตาลดา” กับทัศนคติที่มีต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ และการยอมรับต่อครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศของกลุ่มผู้ชม GEN Z พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญในระดับสูง ผลการศึกษานี้จึงสนับสนุนแนวคิดอิทธิพลของละครโทรทัศน์ต่อกลุ่มวัยรุ่น

References

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). เพศวิถีที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในสังคมไทย. วารสารประชากรและสังคม, 15(1), 43-66.

เกศินี จุฑาวิจิตร. (2548). การสื่อสารเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. นครปฐม: ภาควิชาการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

นิภาพร เจริญผ่อง. (2550). การยอมรับของนักศึกษาต่อการประชาสัมพันธ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2540). พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพ และสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: เจ้าพระยาการพิมพ์

ปารณีย์ จงรักษ์ และอนุชา ทีรคานนท์. (2557). การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ การแสดงออกทางสังคมของกลุ่มหญิงรักหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจนเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย, 6(1), 364-373.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2543). คู่มือการวิจัย: การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เจริญผล.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2565). ความหลากหลายทางเพศ. สืบค้น 30 สิงหาคม 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2649

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2544). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อินโฟเควส. (2566). เจาะกระแส “มาตาลดาฟีเวอร์” ละครฟีลกู๊ด Engagement สูงกว่า 14 ล้านครั้ง. สืบค้น 30 สิงหาคม 2566, จาก https://www.dataxet.co/insights/thai-drama-matalada-fever

อัฏฐ์ กู้พงษ์ศักดิ์. (2553). การบริหารจัดรายการของกิจการโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพื่อผลเชิงพาณิชย์. สืบค้น 30 สิงหาคม 2566, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/30_2/pdf/aw3.pdf.

Gonta, G., Hansen, S., Fagin, C., and Fong, J. (2017). Changing Media and Changing Minds: Media Exposure and Viewer Attitudes Toward Homosexuality. Pepperdine Journal of Communication Research, 5, 21-34.

Jerel, P.C., and L. Monique, W. (2009). Media Exposure and Viewers' Attitudes Toward Homosexuality: Evidence for Mainstreaming or Resonance?, Journal of Broadcasting & Electronic Media, 53:2, 280-299, DOI: 10.1080/08838150902908049

Morgan, M. (2009). Cultivation analysis and media effects. The Sage handbook of media processes and effects, 69-82.

Sheharyar, A. (2020) Effects of Television Dramas on Socio Cultural Values: A Case Study of Faisalabad City. (2023). Human Nature Journal of Social Sciences, 1(1), 40-50.

Yan, H. Y. (2019). “The Rippled Perceptions”: The Effects of LGBT-Inclusive TV on Own Attitudes and Perceived Attitudes of Peers Toward Lesbians and Gays. Journalism & Mass Communication Quarterly, 96(3), 848-871.

เผยแพร่แล้ว

2024-04-13