แนวทางการสร้างความยั่งยืนอาชีพเกษตรกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านสันธาตุ ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • กษิดิศ ใจผาวัง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • เสริมศิริ นิลดำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • นิเวศ จีนะบุญเรือง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดรัณภพ อุดแน่น คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ความยั่งยืน, เกษตรนาข้าว, การพัฒนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการผลิตข้าวที่มีความสัมพันธ์กับความยั่งยืนในอาชีพเกษตร และออกแบบแนวทางสร้างความยั่งยืนให้แก่กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บ้านสันธาตุ ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ ใช้สมาชิกของกลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านสันธาตุเป็นกลุ่มตัวอย่างปฏิบัติการวิจัย การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการจำเพาะเจาะจง คือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังในฤดูกาล ปี พ.ศ. 2566-2567 จำนวน 50 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลด้วยใช้ค่าสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาอุปสรรคด้านการผลิตภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาโรคและแมลงมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น และน้อยที่สุด ได้แก่ ปัญหาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว ส่วนปัญหาอุปสรรคด้านการตลาดภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาราคาตกต่ำมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ การ ถูกกดราคารับซื้อผลผลิต และน้อยที่สุดได้แก่ ปัญหาข้าวล้นตลาด

ความยั่งยืนในอาชีพเกษตรภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยความยั่งยืนด้านสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ 

แนวทางการสร้างความยั่งยืนด้านการผลิต ได้แก่ การเสริมความรู้ในเรื่องโรคและแมลง ส่งเสริมการทำการเกษตรผสมผสานและแบบอินทรีย์ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ การจัดกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อยกระดับการทำนา ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว ส่วนทางด้านการตลาด ได้แก่ การใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อต่อรองกับผู้รับซื้อ การสร้างยุ้งฉางในการเก็บข้าว พัฒนายุวเกษตรกรเพื่อต่อยอดอาชีพเกษตร วิเคราะห์ปัญหาการตลาดและขอรับการช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ แสวงหาความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนในพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว

References

แก้วมณี อุทิรัมย์, ผกามาศ บุตรสาลี, ทิพย์สุดา ทาสีดำ และ อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา. (2562). การเพิ่มมูลค่าและพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มโรงสีข้าวบ้านหัวดง ตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 14(2), 111-120.

ณัฐรดา เนตรสว่าง และวรัท วินิจ. (2562). ทัศนคติของผู้บริโภคในอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อตรารับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(3), 116-123.

ปัณภ์ปวีณ รณรงค์นุรักษ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อหนี้สินของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ข้าวและมันสำปะหลัง: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และเพชรบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญศรี เจริญวานิช และ วรนุช ศรีเจษฎารักข์. (2552). การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ในพื้นที่ร้อยแก่นสาร. วารสารวิจัย มข. 14(4), 258-270.

วรัญญา ทิพย์มณฑา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารกล้องบรรจุถุงของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วาทิวุทธ นิติกิจดำรง และไกรเลิศ ทวีกุล. (2558). การลดต้นทุนการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในจังหวัดขอนแก่น. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรมทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558. (970-976). วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น

สมโภชน์ อเนกสุข. (2552). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพครั้งที่ 3). ชลบุรี: ภาควิชาวิจัยและวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมบูรณ์ สงครินทร์. 26 ธันวาคม 2564. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่บ้านสันธาตุ. สัมภาษณ์.

สำนักข่าวอินโฟเควสท์, 2565. ห่วงสินค้าเกษตรราคาตก-ต้นทุนผลิตยืนสูง ฉุดรายได้เกษตรกรปี 66. สืบค้น 1 มกราคม 2567, จาก https://www.infoquest.co.th/2022/255999

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) (2563). ข้าวไทย ใช้วิจัยสู้โรคและแมลง. สืบค้น 1 มกราคม 2567, จาก https://researchcafe.tsri.or.th/rice-disease-exhibition/

สุรีรัตน์ อนุเพ็ญ, กมลวรรณ จินดาเพ็ง, กิตติชัย กุลชัยกุล และ ธนวัตฒน์ ภมร. (ม.ป.ป.). การศึกษาผลตอบแทนการปลูกข้าวเกษตรแบบอินทรีย์ เกษตรแบบเคมี และเกษตรแบบผสม ในจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ทฤษฎีเกม.“สร้างสรรค์งานวิจัยบนฐานของนวัตกรรมสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก” รายงานสืบเนื่องการประชุมการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่9. (1233-1242). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28