แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2

ผู้แต่ง

  • กฤติยาณี ม่วงแจ่ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทักษ์ อุดมรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

สมรรถนะการบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ประเภทของการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร   เขต 2 จำนวน 71 คน และครูฝ่ายวิชาการ จำนวน 112 คน รวมทั้งสิ้น 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 แบบสอบถามสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 2 แบบสัมภาษณ์การเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ และแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  วางแผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ร่วมกับครู ส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการนิเทศภายในสถานศึกษา ให้คำแนะนำ สะท้อนผลกับผู้สอน เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศของงานวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสถานศึกษา

References

กัญญ์ณพัชร์ เพิ่มพูน. (2561). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เกศรา ตุ่มคำ. (2562). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการ PDCA. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2561). ประมวลสาระชุดวิชา การบริหารวิชาการและทรัพยากรการศึกษา. ใน สมจิตร เผื่อนโภคา. การบริหารและพัฒนาหลักสูตร. (น.3-8). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์ ข้าวฟ่าง จำกัด.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ยุพา พรมแย้ม. (2562). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอบางบัวทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 79 – 80.

รัตนา ดวงแก้ว. (2561). ประมวลสาระชุดวิชา การบริหารวิชาการและทรัพยากรการศึกษา. ใน สมจิตร เผื่อนโภคา. การบริหารและพัฒนาหลักสูตร. (น. 2-13). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เรืองฤทธิ์ อรรคชัย. (2563). การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2565. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2566, จาก https://sites.google.com/a/phichit2.go.th/supervisorpesao2/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2545). หลักการทั่วไปในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำเภา นรสิงห์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารโรงเรียนกับจริยธรรมของครูฝ่ายปกครองในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสมุทรปราการ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์และเข้าปกเจริญผล.

เผยแพร่แล้ว

2024-06-20