การพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับอินโฟกราฟิก

ผู้แต่ง

  • กาญจนา ฐานะวุฒิกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กระบวนการ GPAS 5 Steps, อินโฟกราฟิก, ความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับอินโฟกราฟิก เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และเปรียบเทียบความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับอินโฟกราฟิก และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับอินโฟกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดชัยชนะสงคราม จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ 2. สื่ออินโฟกราฟิก 3. แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย 4. แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่ากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับอินโฟกราฟิกมี 5 ขั้นตอน และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.85/80.74 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps ร่วมกับอินโฟกราฟิก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.61, S.D. = 0.55)

References

กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: องค์การรับและส่งสินค้าพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองบรรณาธิการรีไวว่า. (2563). นำเสนอข้อมูลด้วยภาพ Infographic จะโปรโมทหรือขายอะไรก็ปัง! (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รีไวว่า.

กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล. (2560). จะสอนวรรณคดีอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6(4). 203-213.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2560). Principles Infographic เปลี่ยนข้อมูลเข้าใจยาก ให้เป็นภาพที่ทรงพลัง. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

เทวราช มังคะละ. (2565). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิตยา พืชเพียร. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยด้วยเทคนิค SQ4R กับ เทคนิค KWL PLUS สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

พงษ์พิรุณ วดีศิริศักดิ์. (2563). การพัฒนาความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุลา. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS 5 STEPS เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรของนักเรียนระดับการศกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้. 3(1). 71-78.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: บั๊วกราฟฟิค.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.niets.or.th/th/content/view/25416

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2566). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.niets.or.th/th/content/view/25618

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.). (2562). เอกสารประกอบการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา เรื่องการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วย GPAS 5 Steps. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สถาพร ปุ่มเป้า. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์วรรณคดี เรื่อง นิราศภูเขาทองโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวัฒนา มั่นภาวนา. (2562). ความเข้าใจในการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคแผนผังความคิด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 14(2). 83-98.

เผยแพร่แล้ว

2024-05-15