การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อ การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในพื้นที่จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ภานุพันธ์ ไพทูรย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การเห็นคุณค่าในตนเอง, การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในพื้นที่จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านสุขภาพจิต ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งสิ้นจำนวน 200 คน โดยเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน มี 3 ระยะ คือ  1. ศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองและปัจจัยที่มีีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 2. พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณค่าในตนเอง และ 3. ประเมินผลรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นและรูปแบบการเสริมสร้างคุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเสริมสร้างคุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น ประกอบด้วย 1. การพัฒนาศักยภาพครูในโรงเรียน 2. การพัฒนาระบบการค้นหาคัดกรองกลุ่มเสี่ยง 3. การส่งเสริมเครือข่ายเน้นการมีส่วนร่วม 4. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร เมื่อนำรูปแบบไปใช้แล้วพบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าและมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีระดับภาวะซึมเศร้าลดลงและไม่พบนักเรียนที่มีความคิดอยากจะฆ่าตัวตายในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ารูปแบบการเสริมสร้างคุณค่าในตนเองเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ส่งผลให้วัยรุ่นมีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง ปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ โดยการมีส่วนร่วมระหว่างครู ผู้ปกครอง นักเรียน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

References

กัญญา อภิพรชัยสกุล. (2564). สุขภาพคนไทย. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2567) จาก: https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=40.

เกษม ตั้งเกษมสำราญ. (2565). การขับเคลื่อนรูปแบบการพัฒนาการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำในกลุ่มผู้พยายามฆ่าตัวตาย จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(4), 638-647.

ขนิษฐา คำภาพงษ์ และดรุณี รุจกรกานต์. (2566). การให้ความหมายต่อคำพูดของสมาชิกครอบครัวที่ส่งผลต่อความคิดฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 37(1), 49-64.

ฉวีวรรณ เผ่าพันธ์, มัณฑนา กลมเกลียว และวัชรินทร์ ทองสีเหลือง. (2565). การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารวิชาการสำนักงานสาธรณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 6(12), 57-69.

ธัญชนก จิงา และศรีแพร เข็มวิชัย. (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 14(1), 1-9.

นลินี ค้ากำยาน. (2566). เปิดยอดปี 66 คนเหนือเป็นซึมเศร้า 115,238 เชียงใหม่พุ่งสูงถึง 34,692. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2567, จาก: https://www.lannernews.com/05012567-01/.

เบญจมาภรณ์ รุ่งสาง, นุจรี ไชยมงคล และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2560). ปัจจัยทำนายการคิดฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 64-73.

ศรีไพร ทองนิมิต. (2566). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและดูแลโรคซึมเศร้า ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอไพรปึง จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2565. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 8(1), 220-231.

สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข และสุพร อภินันทเวช. (2563). การฆ่าตัวตายของวัยรุ่นในประเทศไทย: อุบัติการณ์ สาเหตุ และการป้องกัน. เวชบันทึกศิริราช, 13(1), 40-47.

สมรทิพย์ วิภาวนิช. (2567). บทบาทพยาบาลจิตเวชในการป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 :วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 18(1), 72-82.

สามารถ บุญรัตน์. (2562). กระบวนการเสริมสร้างการเรียนรู้และสุขภาวะเพื่อลดการฆ่าตัวตายขององค์กรปกครองส่วนวท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน. วารสารธรรมวิชญ์, 2(2), 281-292.

สิประภา บุบผาวรรณา, ประจวบ แหลมหลัก และอนุกูล มะโนทน. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดในนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(4), 128-140.

โสภา ช้อยชด, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ และกลมวรรณ ตังธนกานนท์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะซึมเศร้าสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 14(2), 281-298.

อนุกูล หุ่นงาม, สมบัติ สกุลพรรณ และภัทราภรณ์ ภทรสกุล. (2566). การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ, 18(3), 244-252.

Chen, M., Zhou, Y., Luo, D., Yan, S., Liu, M., Wang, M., Li, X., Yang, B. X., Li, Y., & Liu, L. Z. (2023). Association of family function and suicide risk in teenagers with a history of self-harm behaviors: mediating role of subjective wellbeing and depression. Frontiers in public health, 11, 1164999.

Kemmis S and McTaggart R. (2005). Participatory action research: communicative action and the public sphere. In: Denzin N, Lincoln Y, editors. The SAGE handbook of qualitative research. 3ed. London: SAGE Publications.

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20