การพัฒนาการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนตำรวจ ตระเวนชายแดน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 344 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • วิราพัตร กาวิละพันธ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ปาจรีย์ ผลประเสริฐ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการโครงการ, โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา , โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย และวิธีการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การศึกษาสภาพ และปัญหาการบริหารจัดการโครงการฯ ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครูใหญ่ ครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 344 อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เจ้าหน้าที่งานบริการด้านการศึกษา สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 34 จังหวัดตาก ผู้บริหารและอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องในโครงการฯ เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ จำนวน 101 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. การศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการโครงการฯ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ที่มีความรู้ในโครงการฯ ผู้ที่มีประสบการณ์หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการฯ และนักวิชาการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 17 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารจัดการโครงการฯ ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด μ= 4.57 (σ=0.27)  โดยแยกเป็นรายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการวางแผน μ= 4.65 (σ=0.25) ด้านการตรวจสอบ μ= 4.54 (σ=0.28) ด้านการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม  μ = 4.54 (σ=0.28) ส่วนด้านการลงมือปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก μ = 4.41( σ=0.46)  ปัญหาการบริหารจัดการโครงการฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  μ=3.73 (σ=0.15) โดยแยกเป็นรายด้าน พบว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการตรวจสอบ μ = 4.06 (σ=0.22)  ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการวางแผน μ = 3.60 (σ=0.24) ด้านการลงมือปฏิบัติ μ = 3.67 (σ=0.31) ด้านการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม μ = 3.84 (σ=0.29) และแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการโครงการฯ สามารถสรุปแนวทางที่สำคัญในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการวางแผน กำหนดแผน กิจกรรม/โครงการ ให้มีความสอดคล้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ความถี่ = 13) ด้านการลงมือปฏิบัติ การจัดหา สิ่งสนับสนุนอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานควรดูความเหมาะสมกับพื้นที่หรือบริบทนั้น ๆ และการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินงาน (ความถี่ = 15) ด้านการตรวจสอบ มีแผนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลหลังการดำเนินงาน (ความถี่ = 14) ด้านการปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม มีการวางแผนปรับปรุงผลการดำเนินงานในโครงการฯ (ความถี่ = 14)

References

กุลพัทธ์ กุลชาติดิลก และเมธิชญญ์ ปรัชญ์ชญางกูร. (2562). แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2537). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพฯ: สำนักพระราชวัง.

ณัฏฐ์ณพัชร์ อ่อนตาม. (2562). เทคนิคการบริหารงานแบบ PDCA (Deming Cycle). วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 39-46.

ธิดารัตน์ ทวีทรัพย์. (10 พฤศจิกายน 2565). ผู้ช่วยคณบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. สัมภาษณ์.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธัญญพัทธ์ แสงสีเหลือง, ปพนสรรค์ โพธิพิทักษ์ และทีปพิพัฒน์ สันตะวัน. (2564). แนวทางการบริหารงานตามแผนยุทธศาสตร์ของโรงเรียนกีฬาสังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(2), 187-200.

นิพิฐพนธ์ อุไรวรณ. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนน้ำหมันหาดล้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พลวัฒน์ แจ้งดี. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนวัชรวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

เพ็ญพรรณ บางอร, จักรปรุฬห์ วิชาอัครวิทย์ และหนูม้วน ร่มแก้ว. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(1), 13-21.

วรรณพันธุ์ อ่อนแย้ม. (2562). ปัจจัยความสำเร็จและการศึกษาปัญหาในการบริหารจัดการโครงการ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 6, 1-8.

สหธร เพชรวิโรจน์ชัย. (2564). PDCA: ความหมาย ประโยชน์ และตัวอย่างใช้ 4 ขั้นตอนเพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-pdca-210610/.

อรินทรา ปัญญายุทธการ. (ม.ป.ป.). การบริหารโครงการสำคัญอย่างไร. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.knowledgertraining.com/index.php?tpid=0023.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-25