การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วยเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จังหวัดกำแพงเพชร
develop and design Products, natural from banana sheath, Enhance the Income of Farmers
คำสำคัญ:
การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์, วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย, เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาความต้องการ และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย และศึกษารายได้ของเกษตรกรที่เกิดจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเก็บข้อมูลจากลูกค้าที่คาดว่าจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย จำนวน 323 คน ตัวแทนหรือบุคลากรของเกษตรกรผู้ปลูกกล้วย ตำบลเทพนคร อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 25 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าลูกค้ามีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ได้รับจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย คือ ด้านผลิตภัณฑ์ในประเด็นความปลอดภัย ด้านราคาในประเด็นระดับราคาที่สามารถยอมรับได้ ด้านการส่งเสริมการตลาด ในประเด็นการประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ของการนำวัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วยมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ประเด็นมีระบบการจัดจำหน่ายผ่านออนไลน์ ผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย คือ ภาชนะใส่อาหารประเภทถ้วย ชาม ภายใต้ชื่อ “อิ่มสุข” ที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมขององค์ประกอบผลิตภัณฑ์ภาชนะวัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66) และรายได้ของเกษตรกรที่เกิดจากการพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุธรรมชาติจากกาบกล้วย ได้รับจากการจำหน่ายกาบกล้วยตากแห้ง และผลิตภัณฑ์ภาชนะจากกาบกล้วยใส่อาหารประเภทถ้วย ชาม ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
References
กฤตณัฐ มีประมูล ,พัชรพล แก้วเกษ และสรรเพชญ สุรกูล. (2559). กระดาษกล้วย. สืบค้น 25 มีนาคม 2566, จาก http://bananapaperslbsg.blogspot.com/2016/08/blog-post_22.html.
จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณฐมน ทรัพย์บุญโต, รสริน จอห์นสัน, นพรัตน์ เตชะพันธ์รัตนกุล, และมงคลกร ศรีวิชัย. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อภาชนะที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงราย. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 11(2), 33-53.
ทัศชา ทรัพย์มีชัย. (2565). ภาชนะจากธรรมชาติ. สืบค้น 25 มีนาคม 2566, จาก https://petromat.org/home/natural-food-container/.
บุษรา สร้อยระย้า, ชมภูนุช เผื่อนพิภพ, ดวงกมล ตั้งสถิตพร ,รัชชา คิริพันธุ และ ประพาฬภรณ์ ธีรมงคล. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเส้นใยกล้วยสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรุงเทพฯ, 7(1), 1-24.
มลสุดา ลิวไธสง. (2556). การผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากกาบกล้วย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล. (2557). การพัฒนาแบบจําลองเครือข่ายสังคมเพื่อการเพิ่มผลผลิตงานวิจัยในมหาวิทยาลัยวิจัยไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณิภัค สหสมโชค, รัฐไท พรเจริญ, และสุพรรณ สมไทย. (2556). การออกแบบพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์กลุ่มของที่ระลึก ประเภทของใช้และของตกแต่งบ้าน จากวัสดุธรรมชาติประกอบกับวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิต ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(1), 143-154.
โศศิษฐา แดงตา, ปาณิสรา คงปัญญา และ อำพล ชะโยมชัย. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและ แรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ เกษตรอินทรีย์ของผู้บริโภคในจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 41-54.
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชรและตาก. สืบค้น 25 มีนาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1216&code_db=610001&code_type=01
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.,.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ