แนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่ศักยภาพ การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุไทย
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, สื่อดิจิทัล, พฤฒพลังบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การเข้าถึงและความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของผู้สูงอายุ และ 2. การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ และ 3. แนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่ศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจงเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 3 คนที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) มีการใช้สื่อดิจิทัลสื่อใด สื่อหนึ่ง เพื่อสร้างภาวะพฤฒพลังด้านใดด้านหนึ่ง 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว 2. ด้านการมีส่วนร่วมในสังคม และ 3. ด้านการสร้างงานสร้างรายได้ โดยมีผู้ติดตามในสื่อดิจิทัลสื่อใดสื่อหนึ่งอย่างน้อย 5,000 คนขึ้นไป และผู้ให้ข้อมูลหลักต้องเป็นผู้ได้รับรางวัลหรือการยกย่องเชิดชูเกียรติในระดับประเทศขึ้นไป
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุเข้าถึงการใช้สมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดียได้ โดยเรียนรู้การใช้งานจากลูกหลาน หน่วยงานรัฐ หลักสูตรออนไลน์ และศึกษาด้วยตนเอง แรงจูงใจในการผลิตคลิปวิดีโอเกิดจากลูกที่ต้องการให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำ ความต้องการสร้างประโยชน์ให้คนในสังคม ฯลฯ ซึ่งเนื้อหาที่ผลิตมาจากความรู้ ประสบการณ์ ความถนัดและความเป็นตัวตน ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว การมีส่วนร่วมในสังคมและสร้างรายได้
ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการส่งเสริมและเผยแพร่ศักยภาพการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุไทยโดย 1. ทัศนคติ ความรู้ ประสบการณ์ และความเป็นตัวตนของผู้สูงอายุเป็นต้นทุนที่สร้างภาวะพฤฒพลัง 2. การเชื่อมประสานของคนในครอบครัว 3. การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ และ 4. การสนับสนุนจากหน่วยงานภาคเอกชน
References
กรมการปกครอง. (2567). สถิติจำนวนประชากร. กรมการปกครอง.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2566). แผนปฏิบัติราชการแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรมกิจการผู้สูงอายุ.
พนม คลี่ฉายา. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังและผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(2), 56-78.
พิมพ์ชนก ผลอ่อน และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2562). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อออนไลน์ การแสดงตัวตนในสังคมและรูปแบบการดำเนินชีวิตออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารนิเทศศาสตร์, 37(3), 20-29.
พีระ จิระโสภณ. (2557). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์ และทฤษฎีการสื่อสารหน่วยที่ 11-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.
พัชนี เชยจรรยา. (2559). รูปแบบการใช้ประโยชน์และปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้สูงอายุไทย. วารสารจันทรเกษมสาร, 22(43), 121-135.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ และมณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. (2564). จากพฤตพลังสู่พฤตสุขภาวะ. วารสารสุขศึกษา, 44(1), 12-29.
ภากิตต์ ตรีสกุล, วิภาณี แม้นอินทร์ และเรวดี ไวยศาสนา. (2563). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา.
มนัสสินี บุญมีศรีสง่า และมินตรา สดชื่น. (2560). รูปแบบการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืน สู่ประเทศไทย 4.0”, นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
มลินี สมภพเจริญ และคณะ. (2564). การยอมรับนวัตกรรม 4 สมาร์ทในแกนนำผู้สูงอายุในเขตดอนเมือง. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(3), 1-21.
รุจา รอดเข็ม และสุดารัตน์ ไชยประสิทธิ์. (2562). สังคมสูงวัยกับเทคโนโลยีผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 36-45.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ.
ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.สุนทรีย์ ชุ่มมงคล. (ม.ป.ป.). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยสื่อใหม่ผ่านโซเชียลมีเดีย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
เสกสรร สายสีสด, ภราดร ศิริมนตรี และณัชธิชา สุขคำ. (2566). พฤติกรรมการใช้ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์ต่อสื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 27(3), 43-53.
อดิศักดิ์ จำปาทอง และศชากานท์ แก้วแพร่. (2564). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดลำปาง. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 15(2), 235-267.
Bevilacqua, R., Strano, S., Di Rosa, M., Giammarchi, C., Cerna, K. K., Mueller, C., & Maranesi, E. (2021). eHealth Literacy: From Theory to Clinical Application for Digital Health Improvement. Results from the ACCESS Training Experience. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(22), 1-11.
Blažič, A. J., & Blažič, B.J. (2018). Digital Skills for Elderly People: A Learning Experiment in Four European Countries. Review of European Studies, 10(4), 74-86.
Lee, L. and Maher, M. L. (2021). Factors Affecting the Initial Engagement of Older Adults in the Use of Interactive Technology. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(6), 1-22.
Katz, E., Gurevitch, M., & Haas, H. (1973). On the use of the mass media for important things. American Sociological Review, 38(2), 164–181.
Sheldon, P., Antony, M. G., & Ware, L. J. (2021). Baby Boomers' use of Facebook and Instagram: uses and gratifications theory and contextual age indicators. Heliyon, 7(4), 1-7.
United Nations. (2022). Asia-Pacific Report on Population Aging 2022: Trends, policies and good practices regarding older persons and population aging. United Nations.
World Health Organization. (2002). Active Aging: A Policy Framework. World Health Organization.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
แนวคิดและทัศนะในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ การนำบทความหรือส่วนหนึ่งของบทความไปตีพิมพ์เผยแพร่ ให้อ้างอิงแสดงที่มา และข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความ