ผลการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนกองทุนการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา พันธ์มี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

โครงการกองทุนการศึกษา, ยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา, นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็นของผู้บริหาร ครู และชุมชน พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย และศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ สำหรับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครู ผู้บริหาร และนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 โดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ, แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยตามแนวทางทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที่ทดสอบค่าทีแบบอิสระ

ผลการวิจัย พบว่า โรงเรียนบ้านหนองแดน สาขาบ้านโละโคะ อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นโรงเรียนพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร ครู ผู้บริหาร จำนวน 7 คน นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 79 คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ม้งปกาเกอะญอ มีความต้องการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทย สำหรับหลักสูตรท้องถิ่นภูมิปัญญาบ้านโละโคะ จากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการสื่อสารภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

References

ฉัตรชัย พรมมารักษ์. (2564). ภาษาแม่กับการเสริมสร้างทักษะการฟังและทักษะการพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์. วารสารวิจัยศิลปวิทยาการลุ่มน้ำโขง, 5(2), 53-67

ณัฐพงษ์ เพราแก้ว. (2561). การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 44-58.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: คำสมัย.

วรรณา เทียนมี. (2563). แนวทางทวิ/พหุภาษา โดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

ศูนย์คุณธรรม. (2561). รายงานโครงการกองทุนการศึกษา. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566, จาก http://www.moralcenter.or.th

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2561). วิธีสอนทั่วไป (Method of Teaching). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ศิวะลักษณ์ มหาชัย. (2565). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 5(2), 168-185.

สุมิตรา กลิ่นบุบผา. (2566). รายงานการดำเนินงานโรงเรียนกองทุนการศึกษาประจำการศึกษา 2566. กำแพงเพชร: โรงเรียนบ้านหนองแดน สาขาบ้านโละโคะ.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). โครงการกองทุนการศึกษา. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.thaimediapr.com/โครงการกองทุนการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อรณี จริยาพจน์งาม. (2564). การพัฒนาหลักสูตรดิจิทัลการฝึกอบรมครูเพื่อการจัดการศึกษาตามแนวทางทวิ/พหุภาษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐาน. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.edusandbox.com

Dick, W., & Carey, L. (1978). The Systematic Design of Instruction. New York: HarperCollins.

Taba, H. (1962). Curriculum development and Theory and practice. New York: Harcourt, Brace & World.

เผยแพร่แล้ว

2024-09-16