การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (ECEIL Model) ร่วมกับชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

นริศรา เอกวงษา
พิมพ์พร จารุจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังการเรียนโดยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้(ECEIL Model)  ร่วมกับชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  (3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน โดยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (ECEIL Model)  ร่วมกับชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด) จำนวนนักเรียน 28 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่ทีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการเรียนการสอน ECEIL Model ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ ขั้นที่ 2 สอนแบบแบ่งกลุ่ม  ขั้นที่ 3 ประเมิน ขั้นที่ 4  บูรณาการแนวคิดและเชื่อมโยงสู่ชีวิตประจำวันและชื่นชมความสำเร็จ และรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 78.20 / 82.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ECEIL Model ร่วมกับชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรม เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ(3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ECEIL Model ร่วมกับชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เอกวงษา น. . ., & จารุจิตร์ พ. . . (2024). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (ECEIL Model) ร่วมกับชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 2(4), 38–48. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/IEJ/article/view/270598
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา สนรัมย์. (2563) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ลำดับ และอนุกรม โดยใช้การจัดการ เรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.

ณิชา เมทา และคณะ. (2563) ได้ทำการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับ และอนุกรม โดยใช้เทคนิค

การเรียนแบบร่วมมือ STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.

โรงเรียนเทศบาลหนองหญ้าม้า (โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด). (2560) หลักสูตรสถานศึกษากลุ่ม

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. จังหวัดร้อยเอ็ด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545) คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์.

กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา : ระเบียบวาระแห่งชาติ.

กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

อรทัย ชินาภาษ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการสร้างองค์ความรู้ตามทฤษีคอนสตรัคติ วิสต์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1. โรงเรียนเมืองเดช สพป อุบลราชธานี เขต 5.