การศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของบุคลากร นิสิต มหาบัณฑิต และผู้ประกอบการต่อหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) ความสำเร็จ, ภาพสะท้อนความต้องการ, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “ความสำเร็จและภาพสะท้อนความต้องการของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)” ผู้วิจัยได้สอบถามความพึงพอใจจากนิสิตปัจจุบันและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน นิสิตเก่า และสถานประกอบการผู้ใช้บัณฑิต รวมทั้งสิ้น 45 คน ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่คณะผู้วิจัยได้มาโดยวิธีเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประมวลผลเพื่อหาค่าสถิติร้อยละ (%) และค่ำเฉลี่ย (x̄). ผลการวิจัยพบว่า “ความสำเร็จและภาพสะท้อนความต้องการของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)” มีประเด็นความพึงพอใจ ดังนี้ 1. ความพึงพอใจต่อรายวิชาบังคับและวิชาเฉพาะด้านเลือก มีค่าเฉลี่ย 4.47 ความพึงพอใจระดับดี 2. ความพึงพอใจกระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร มีค่าเฉลี่ย 4.62 ความพึงพอใจระดับดีมาก 3. การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.73 ความพึงพอใจระดับดีมาก 4. ความพึงพอใจเกี่ยวกับปัจจัยเกื้อหนุนทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย 4.00 ความพึงพอใจระดับดี ประเด็นที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ หนังสือภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์ เพียงพอต่อความต้องการในการค้นคว้าข้อมูล 5. ความพึงพอใจลักษณะของนิสิตที่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ย 4.53 ระดับความพึงพอใจระดับดีมาก การปรับปรุงรายวิชาเดิมควรมีการรวมบางรายวิชาที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกัน และความต้องการในการสร้างรายวิชาใหม่สำหรับการร่างหลักสูตรต่อไป คือ วิชาการวิเคราะห์ภาษาไทยในแบบเรียนภาษาไทยสมัยปัจจุบัน เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ พบว่ามีข้อเสนอแนะการให้ความสำคัญกับนิสิตชาวต่างประเทศ ที่ต้องการที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตร โดยมีรายวิชาที่รองรับความรู้พื้นฐานและความพร้อม