การสร้างคู่มือเพื่อพัฒนาการบริหารงานพัสดุของกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน The Development of Material Administrations Handbook for Expansion Schools in Mae Hong Son Province

Main Article Content

ศรายุทธ เงาคำ
นวพร ชลารักษ์
ชลธิดา ณ ลำพูน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานพัสดุของกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากร จำนวน 219 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและการบริหารงานพัสดุของกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และรายด้านพบว่า การจำหน่ายพัสดุ การบำรุงรักษาพัสดุ อยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดหาพัสดุ และการควบคุมพัสดุ อยู่ในระดับปานกลาง 2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานพัสดุของกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์ ผลปรากฏ ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบปัญหาและการบริหารงานพัสดุของกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำแนกตามตำแหน่งการปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุ โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานพัสดุของกลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จำแนกตามประสบการณ์โดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ รายด้านประกอบด้วย การจัดหาพัสดุ การควบคุมพัสดุ การบำรุงรักษาพัสดุ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการจำหน่ายพัสดุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย